Font Resizer

A Decrease font size. A Reset font size. A Increase font size.

622 views

ธนาคารโลก “ยืนยัน” ความจนในไทยลดลง


❌❌คำกล่าวหาว่า ❌❌

ไทยเหลื่อมล้ำพุ่งรอบ 10 ปี รวยจนห่างกันสูงสุด 20 เท่า หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มทะลุ 80% คนจนมีโอกาสเรียน ป.ตรี แค่ 3% เมื่อพิจารณาในส่วนของผู้ที่มีรายได้มากที่สุดแตกต่างจากผู้ที่มีรายได้น้อยสุดกว่า 20 เท่า โดยมีกลุ่มคนชนชั้นกลางอยู่ประมาณ 35% สะท้อนถึงการกระจุกตัวของรายได้ในกลุ่มบน และการแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ทั่วถึงไปสู่คนกลุ่มล่าง แม้ดูจะดีขึ้นจากปี 2550-2561 แต่จำนวนคนยากจนในปี 2560-2563 มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าจำนวนคนจนจะเพิ่มขึ้นมาในช่วง 3 ปีหลัง❌❌

✅✅✅ความจริง✅✅✅

รายงานธนาคารโลก (World Bank) สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทยภาพรวม ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มลดลง อัตราการลดลงของความยากจนในประเทศไทย ลดลงจากร้อยละ 65.2 ในปี 2531 ไปสู่ร้อยละ 9.9 ในปี 2561 และความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มลดลงในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ในปี 2531 ลดลงจาก 0.44 ไปสู่ 0.36 ในปี 2561 และจากการสำรวจล่าสุดถึง ตุลาคม 2563 พบว่าไทยมีแนวโน้มความเหลื่อมล้ำลดลงมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

รายงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าสถานการณ์ความยากจนในปี 2562 ปรับตัวในทิศทางดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2557 โดยสัดส่วนคนจนลดลงจากร้อยละ 10.53 ในปี 2557 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.24 ในปี 2562 จำนวนคนจน 4.3 ล้านคน ในปี 2562 ลดลงจากปี 2556 ที่มีอยู่ประมาณ 7.3 ล้านคน

สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำปรับตัวดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบจากปี 2556 ถึงปี 2562 ดัชนีความเหลื่อมล้ำปรับตัวดีขึ้นจาก ปี 2556 อยู่ที่ 0.465 เป็น 0.430 ในปี 2562 โดยเฉพาะ สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านรายจ่าย ด้านการศึกษาและด้านสวัสดิการปรับตัวดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบจากปี 2556 ถึง ปี 2562

มาตรการของรัฐที่ช่วยลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ/การจัดที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย บ้านเช่า บ้านผู้สูงอายุ /การจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร / การคืนโฉนดให้กับประชาชนผู้ยากไร้ / การปราบปรามหนี้นอกระบบ / การแก้ปัญหาคนไร้รัฐที่พึ่งมาทำสำเร็จในช่วง 6 ปี ที่ผ่านมา / การแก้ไขกฎหมายให้ประชาชนมีโอกาสหารายได้จากการปลูกไม้มีค่า 58 ชนิด ในพื้นที่ของตัวเอง / การจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา / การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ / โครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิ์ทุกที่ / การให้เงินอุดหนุนเบี้ยคนชรา /การเพิ่มเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็น 600 บาท ให้ถึง 6 ปี / การเพิ่มเบี้ยคนพิการ จาก 800 บาท เป็น 1,000 บาทต่อเดือน

อ้างอิง

• กระทรวงการคลัง

• สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข้อมูลเบาะแส