กรณีที่มี ผู้เผยแพร่คลิปในสื่อออนไลน์ตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมผู้กู้ยืม กยศ.ต้องกู้ยืมผ่านธนาคารอิสลาม ทำไมไม่กู้ผ่านธนาคารออมสิน และหากยอมเปลี่ยนศาสนา แล้ว กยศ. จะยกหนี้ให้ จริงหรือไม่
นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ❌❌
กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยได้ว่าจ้างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่บริหารจัดการเงินให้กู้ยืม
✅✅ ผู้กู้ยืมสามารถเลือกใช้บริการจากธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามได้ โดยไม่ได้มีการบังคับแต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้กู้ยืม โดยกองทุนได้ว่าจ้างธนาคารกรุงไทย เป็นผู้บริหารจัดการเงินกู้ยืมตั้งแต่ปี 2539 และต่อมาได้เพิ่มธนาคารอิสลามเป็นผู้บริหารจัดการเงินกู้ยืมตั้งแต่ปี 2553 เพื่อเพิ่มช่องทางในการให้บริการแก่ผู้กู้ยืม ซึ่งจากผู้กู้ยืมประมาณ 5.7 ล้านคนนั้น ใช้บริการผ่านธนาคารกรุงไทย 97% และผ่านธนาคารอิสลาม 3%
กรณีที่มีการกล่าวว่า หากมีการเปลี่ยนศาสนาจะได้รับการยกหนี้นั้น
✅✅ ผู้จัดการกองทุนฯ ขอยืนยันว่า ไม่มีข้อกำหนดในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และอาจจะทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความสับสน ทางกองทุนจึงขอให้ประชาชนได้ใช้วิจารณญาณในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
- หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2208-8699 ( 08.00 น. – 17.00 น.)
- ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2111-1111 (ตลอด 24 ชม.)
- กยศ. Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 0-2016-4888 (เวลา 08.30 น. – 16.30 น.)