546 views

ไม่สนับสนุน ไม่ซื้อ ไม่รับประทาน “ปลานกแก้ว”


สำนักอุทยานแห่งชาติ รณรงค์ให้ประชาชนทุกคน ร่วมกัน ไม่สนับสนุน ไม่ซื้อ ไม่รับประทาน “ปลานกแก้ว” หากพบเห็นการจับปลานกแก้วในเขตอุทยานแห่งชาติให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

✅✅ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีประกาศ ฉบับลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ห้ามกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือทำอันตรายกับสัตว์ต่างๆ ทุกชนิดในอุทยานแห่งชาติ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

มาตรา 16 (3) นำสัตว์ออกไปหรือทำอันตรายด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์

มาตรา 21 ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 16 ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ หรือ งดเว้นการกระทำใดๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 24

ทั้งนี้ การนำสัตว์ออกไป หรือทำอันตรายด้วยประการใดๆให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ประกอบกับมาตรา 21 ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 16 ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติหรืองดเว้นการกระทำใดๆในเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 24 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา16(3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ปลานกแก้ว(Parrotfish) เป็นปลาทะเลขนาดกลางชนิดหนึ่งมีเกล็ดขนาดใหญ่จะงอยมีปากยืดหดได้ปากคล้ายนกแก้วซึ่งเป็นที่มาของชื่อปลานกแก้ว

 เนื่องจาก ปลานกแก้วมีรูปร่างลักษณะและสีสันสวยงามจึงมีผู้นิยมจับมาดูเล่นและนำมาเป็นอาหารทำให้ประชากรปลานกแก้วลดลงส่งผลกระทบระบบนิเวศโดยรวมของทะเลบริเวณนั้น ก็จะเสียสมดุลไปอย่างมากปะการังตายมากขึ้นฟื้นตัวช้าและเมื่อเกิดการฟอกสีเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นก็จะฟื้นตัวยากหรือตายไปอย่างถาวร

  • ข้อมูลและภาพ
  • สำนักอุทยานแห่งชาติ
  •  Page Facebook : Sunshine Sketcher
  •  Page Facebook : Similan Farm, Clownfish

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข้อมูลเบาะแส