353 views

ราษฎร์-รัฐ ร่วมใจ ช่วยเหลือคนไทยผ่านพ้น COVID-19


เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมสำหรับความร่วมมือจากภาคเอกชนหลายหน่วยงานออกมาร่วมแรงร่วมใจ ช่วยเหลือคนไทย ในภาวะวิกฤตไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วนของไทย

เริ่มต้นจากเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ทุ่มเงินกว่า 100 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย มีกำลังการผลิตราว 3 ล้านชิ้นต่อเดือน เพื่อแจกให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล และประชาชนทั่วไปที่ขาดโอกาสในการเข้าถึง โดยแจกหน้ากากอนามัยให้ฟรีๆ คาด โรงงานแห่งนี้จะสร้างเสร็จภายใน 5 สัปดาห์

✅✅ นอกจากนี้ กลุ่มซีพียังมีโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจร่วมต้านภัย COVID-19” สนับสนุนอาหารสำหรับผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคเฝ้าระวัง บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ และผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-19
✅✅ สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับการสนับสนุนอาหารผ่านทาง CP FRESHMART หลังจากนั้นบริษัทจะนำรายชื่อไปตรวจสอบกับกรมควบคุมโรค สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันผ่าน SMS จะมีทีมซีพีเฟรชมาร์ทเดลิเวอรี่ส่งอาหารจากจุดกระจายสินค้า 109 สาขาทั่วประเทศ ถึงบ้านผู้ป่วย

  •  ด้าน”มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้มอบกรมธรรม์ประกันเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ให้กับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ สถาบันบำราศนราดูร เป็นการให้ฟรี ขณะเดียวกัน ยังนำทีมจิตอาสา ลงพื้นที่ชุมชนคลองเตย ไปสอนทำหน้ากากอนามัยและ สเปรย์แอลกอฮอล์ให้กับ 42 ชุมชนในบริเวณนั้นอีกด้วย

✅✅ สำหรับเดอะมอลล์ กรุ๊ป ร่วมกับโรงพยาบาลราชวิถี ระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชน แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ การระดมทุนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท และจะเปิดรับการระดมทุนเพิ่มมากขึ้น

  •  ภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญอย่างภูเก็ต เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการบางรายต้องหยุดกิจการชั่วคราว ทำให้ขาดรายได้ สมาคมไทย-จีนภูเก็ต ร่วมกับเครือข่ายจึงจัดโรงทานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กันผู้ตกงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น ไกด์ ฯลฯ ได้รับประทานอาหารฟรีทุกวัน ตั้งแต่ 09.00-17.00 น. เรื่อยไปจนถึงเวลาที่สถานการณ์ดีขึ้น
  • ยังมี บริษัทยักษ์ใหญ่ อย่างAIS ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดึงเทคโนโลยี 5G และ 4G เสริมขีดความสามารถการทำงานของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ เพื่อนำมาใช้ติดตามอาการกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นการรักษาและให้คำปรึกษาระยะไกลผ่านระบบ Telemedicine

✅✅ ทั้งนี้หุ่นยนต์นี้จะทำให้แพทย์ไม่ต้องสัมผัสหรือใกล้กับผู้ป่วย ขณะนี้เริ่มนำไปใช้แล้ว 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลทรวงอก และโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยจะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์นี้ยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์และบันทึกสัญญาณชีพจรได้ด้วย เช่น วัดความดัน วัดชีพจร วัดอุณหภูมิ เป็นต้น และส่งข้อมูลไปให้แพทย์ เพื่อให้ทราบผลทันที

นี่เป็นเพียงบางส่วนของภาคเอกชนที่รวมมือกัน ออกมาช่วยเหลือเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข้อมูลเบาะแส