นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2568 เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 โดยให้กระทรวงต่างๆ เร่งขับเคลื่อนมาตรการที่เกี่ยวข้องและผลักดันความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการแก้ปัญหา PM2.5 อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อคืนอากาศที่สะอาดให้กับประชาชน โดยทุกหน่วยงานขานรับ
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมทางไกลติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2568 กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ปี 2568 โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งเข้าร่วม ระบุว่า สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2567 – 9 มกราคม 2568
- 37.5 มคก./ลบ.ม. หรือระดับสีส้ม จำนวน 53 จังหวัด
พบเกินมาตรฐานระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพหรือสีแดง (75 มคก./ลบ.ม.ขึ้นไป) จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี สมุทรสาคร สระบุรี นครปฐม พิษณุโลก นนทบุรี สมุทรปราการ ระยอง สมุทรสงคราม และราชบุรี - 15 มกราคม 2568 เนื่องจากการระบายอากาศต่ำ ทำให้มีสภาพอากาศปิด รวมทั้งพบจุดความร้อนทั้งในประเทศและต่างประเทศสูงขึ้น ฝุ่นละอองจึงมีแนวโน้มสะสมมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล ภาคกลาง และภาคเหนือ
มลพิษอากาศ เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก เป็น 1 ใน 5 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อโรคมะเร็ง ทั้งยังทำให้อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยลดลง 1.78 ปี กระทรวงสาธารณสุข จึงมีการเฝ้าระวังแจ้งเตือนประชาชนเมื่อค่าฝุ่นสูงและเตรียมความพร้อมดูแลสุขภาพ โดยมีประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบ 38 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และเด็กเล็ก รวม 15 ล้านคน โดยมีมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามระดับความรุนแรงของค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมง 4 มาตรการ ได้แก่
1. การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยติดตามสถานการณ์และประชาสัมพันธ์เชิงรุก เน้นการสื่อสารและแจ้งเตือนผ่านระบบดิจิทัล เช่น Platform หมอพร้อม, SMART อสม. ครอบคลุมทั้งประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว
2. การลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง โดยเฝ้าระวังและติดตามผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจาก PM2.5 จัดทำห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการและพื้นที่เสี่ยง และสนับสนุน “มุ้งสู้ฝุ่น” รวมถึงพิจารณา Work From Home สำหรับกลุ่มเปราะบางเมื่อค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน
3. การจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยขยายเครือข่ายบริการดูแลสุขภาพให้ครอบคลุม ทั้งคลินิกมลพิษทางอากาศ คลินิกเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ให้คำปรึกษาคลินิกมลพิษออนไลน์ จัดระบบนัดหมายคลินิกมลพิษผ่านระบบหมอพร้อม และจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่/ทีมปฏิบัติการดูแลสุขภาพกลุ่มเปราะบาง เช่น ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ โรงเรียนประจำ เป็นต้น
4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการหากสถานการณ์รุนแรง ให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินในทุกระดับ และส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ใช้ พ.ร.บ.การสาธารณสุขฯ ในการควบคุมฝุ่นละออง
สธ. จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่น-มุ้งสู้ฝุ่น
- 56 จังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงมีห้องปลอดฝุ่นแล้ว 4,700 ห้อง แบ่งเป็น สถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข 3,009 ห้อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียน 858 ห้อง อาคารสำนักงาน 457 ห้อง และร้านอาหาร ร้านกาแฟ ฯลฯ 376 ห้อง
- 34 จังหวัด รวม 1,338 ชุด โดยจะมีการสนับสนุนหน้ากากอนามัยและมุ้งสู้ฝุ่นที่จุดเสี่ยงและหน่วยบริการสาธารณสุขเพิ่มเติม
สำหรับการเฝ้าระวังโรคจากการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 จะดำเนินการผ่านระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข โดยเฝ้าระวังใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มโรคหัวใจหลอดเลือด กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ เช่น โรคผื่นผิวหนังอักเสบ โรคผื่นลมพิษ และกลุ่มโรคตาอักเสบ นอกจากนี้ จะคัดกรองสุขภาพเชิงรุกและรวบรวมข้อมูลผู้รับบริการในร้านขายยาเมื่อค่าฝุ่น PM2.5 มากกว่า 75 มคก./ลบ.ม. และคัดกรองเชิงรับในหน่วยบริการเมื่อค่าฝุ่นมากกว่า 37.5 มคก./ลบ.ม. ด้วย
กรมการแพทย์แนะแนวทางดูแลผู้สูงอายุปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5
นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ฝุ่น PM2.5 เป็นฝุ่นขนาดเล็กซึ่งก่อให้เกิดผลเสียทางด้านสุขภาพกับคนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคร่วม ทำให้มีโอกาสเจ็บป่วยทั้งในระยะเฉียบพลันและเจ็บป่วยระยะเรื้อรังได้โดยง่าย ในกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้จะเดินหรือเคลื่อนย้ายลำบากและช้ากว่าคนที่แข็งแรง ทำให้ผู้ดูแลมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุได้ปลอดภัยจากฝุ่นละออง PM2.5 โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้
1) ติดตามสถานการณ์ PM2.5 จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
2) แจ้งเตือนภัยผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5
3) สังเกตอาการที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 ของผู้สูงอายุ รวมทั้งเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุและรายงานให้ญาติของผู้สูงอายุทราบ
4) สามารถดูแลและป้องกันตนเองจาก PM2.5 ตลอดจนแนะนำการจัดสภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดฝุ่นแก่ผู้สูงอายุ
กรมการแพทย์ ยังมีข้อแนะนำในการจัดสภาพบ้านให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ดังนี้
1) ปิดประตู หน้าต่าง หรือช่องรูต่างๆ ให้มิดชิดกันฝุ่นละอองเข้ามาในบ้าน
2) ทำความสะอาดบ้านทุกวันโดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหรือถู แทนการใช้ไม้กวาดหรือไม้ปัดฝุ่น
3) ไม่ทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นภายในห้อง เช่น จุดธูป จุดเทียน การเผา การใช้สารเคมีในอาคาร
4) เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเพื่อให้อากาศภายในห้องเกิดการหมุนเวียน แต่ไม่แนะนำการใช้พัดลมดูดอากาศซึ่งจะดูดเอาอากาศและฝุ่นจากภายนอกเข้ามาในบ้าน
5) พิจารณาเลือกใช้เครื่องกรองอากาศอย่างเหมาะสม (ไม่ควรวางไว้ใต้เครื่องปรับอากาศหรือติดกับพัดลม เนื่องด้วยอากาศที่ยังไม่ถูกกรองจะถูกดูดเข้าเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมก่อนเข้าเครื่องกรองอากาศ และหลีกเลี่ยงการวางเครื่องกรองอากาศไว้ใกล้ห้องน้ำเพื่อกันการดูดความชื้นและปล่อยความชื้นออกมาทำให้ห้องอับเป็นเชื้อรา)
นอกจากนี้ หากพบว่าอากาศมีค่าฝุ่น PM2.5 เกินเกณฑ์ปกติ แนะนำผู้สูงอายุให้งดการออกนอกบ้าน หรือหากจำเป็นควรสวมใส่หน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่น เตรียมยาเวชภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น ยาประจำตัว ยาสามัญประจำบ้าน และเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติในผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะหรือหมดสติ แนะนำให้พาผู้สูงอายุพบแพทย์ทันที