รัฐบาล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดยังคงช่วยติดตามสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ในพื้นที่ 6 จังหวัดและให้ความช่วยเหลือเยียวยาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การมอบถุงยังชีพ จัดตั้งครัวประกอบอาหารและน้ำดื่ม เพื่อผลิตอาหาร และน้ำดื่มสนับสนุนเวชภัณฑ์ ยาสามัญประจำบ้าน สนับสนุน เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ นำเสบียงสัตว์ (หญ้าแห้ง) หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน ส่งมอบให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยรวมถึง การเฝ้าระวังแผ่นดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก และการประกาศแจ้งเตือน เรื่องฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ เป็นต้น
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัย วันที่ 4 ธันวาคม 2567 เวลา 06.00 น.
ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี
และ นราธิวาส จำนวน 26 อำเภอ 179 ตำบล 1,107 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 155,894 ครัวเรือน
จำนวนผู้เสียชีวิตรวม 29 ราย (จ.พัทลุง 2 ราย สงขลา 10 ราย ปัตตานี 7 ราย ยะลา 5 ราย นราธิวาส 4 ราย นครศรีธรรมราช 1 ราย อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง)
(4 ธ.ค. 67) เวลา 05.00 น. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ดังนี้
- วันที่ 4 ธันวาคม 2567 บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล
- วันที่ 5 ธันวาคม 2567 บริเวณ จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล
ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม
- กรมทรัพยากรธรณี ประกาศเฝ้าระวังแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก
(3 ธ.ค. 67) กรมทรัพยากรธรณีแจ้งเตือนเฝ้าระวังแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก จากพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินถล่มใน 7 จังหวัดภาคใต้ บริเวณ จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช เนื่องจากเป็นพื้นที่คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนที่อาจก่อให้เกิดแผ่นดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน (3 – 5 ธ.ค.67) จึงต้องทำการ
เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากเป็นพิเศษ
- ศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม (JIC) สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์ รายงานความช่วยเหลือ ดังนี้
1.จังหวัดปัตตานี
– ส่งมอบถุงยังชีพ 2,500 ถุง น้ำดื่ม 8,440 ขวด และ อาหารกล่อง 7,000 กล่อง แก่ผู้ประสบอุทกภัย
– ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี จัดตั้งครัวประกอบอาหารและน้ำดื่ม เพื่อผลิตอาหาร และน้ำดื่มแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดปัตตานี และเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด
– รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ เยี่ยมให้กำลังใจผู้ประสบภัย ในพื้นที่
อ.สายบุรี กะพ้อ ทุ่งยางแดง ไม้แก่น หนองจิก โคกโพธิ์ แม่ลาน ยะรัง ยะหริ่ง ปะนาเระ และ มายอ
– ศบภ.มทบ.46 โดย ร.153 พัน 1 ร.153 พัน 2 และกองพลทหารพรานที่ 4410 เข้าช่วยเหลือขนย้ายผู้ประสบภัยในพื้นที่ ทั้ง 12 อำเภอ และจัดครัวประกอบอาหาร
– การสนับสนุนเวชภัณฑ์ ยาสามัญประจำบ้านขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี รวม 12 อำเภอ ยาที่ได้รับจัดสรร รวม 2,250 ชุด
– จัดตั้งศูนย์พักพิงระดับจังหวัด จำนวน 5 แห่ง ศูนย์พักพิงระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 อำเภอ 362 แห่ง จำนวนผู้ประสบภัยเข้ารับบริการ 29,620 คน
– จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน 2 แห่ง โรงครัวสนามของอำเภอ 12 แห่ง และของ อปท. 41 แห่ง
2. จังหวัดยะลา
– ส่งมอบถุงยังชีพ 3,442 ถุง น้ำดื่ม 131,672 ขวด และ อาหารปรุงสุก 130,863 กล่อง แก่ผู้ประสบอุทกภัย
– โรงครัวพระราชทานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ณ สถานสงเคราะห์เด็กชาย
จ.ยะลา และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงวังพญา อ.รามัน จัดทำข้าวกล่องพร้อมน้ำดื่ม 3,320 ชุด
– สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยะลา จัดทำโครงการการเชื่อมโยงไข่ไก่ราคาประหยัดในช่วงสถานการณ์อุทกภัย ณ บริเวณสำนักงานพาณิชย์จังหวัดยะลาร่วมกับผู้ประกอบการในพื้นที่
– รถไฟประกาศเดินรถวันแรก ระหว่าง สถานียะลา – สุไหงโก-ลก
– ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ 46 โดย กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 153 จัดชุดบรรเทาสาธารณภัยช่วยเหลือประชาชน มอบอาหารพร้อมรับประทานให้กับ รร.เตรียมศึกษาปัตตานี 100 ชุด
– ผบ.ร.153 พัน.3 นำกำลังพล ชป.จิตอาสาพระราชทาน ร่วมกับผู้นำชุมชน และกู้ชีพสันติปัตตานีนำข้าวกล่องพร้อมทาน เเละน้ำดื่ม 500 ชุด แจกจ่ายประชาชนในพื้นที่ ม.8 บ้านเจ๊ะดี ต.ปะกาฮะรัง
– วิทยาลัยชุมชนยะลาลงพื้นที่ส่งมอบถุงยังชีพ 150 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
– นายอำเภอเมืองยะลา/ผอ.ศอ.จอส.อำเภอเมืองยะลา พร้อมด้วยปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่ปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตอาสาฯ ประชาชนจิตอาสาพระราชทานฯ มอบถุงยังชีพ สิ่งของ เครื่องอุปโภค-บริโภค 200 ชุด ให้แก่ผู้ประสบภัย ใน ต.ตาเซะ อ.เมืองยะลา
– สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา แจกจ่ายยาช่วยเหลือผู้ประสบภัย 1,065 ชุด
– องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ให้การสนับสนุน เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 12 ลำ ในพื้นที่
อ.รามัน เรือไฟเบอร์ 2 ลำ ในพื้นที่ อ.เมืองยะลา
– ปภ. ให้การสนับสนุน เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 15 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน รถสูบน้ำ 1 คัน รถลากเรือ 1 คัน และ เรือเร็ว 2 ลำ
3. จังหวัดสงขลา
– ผู้ว่าราชการจังหวัด เร่งจัดการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรเทาผลกระทบ โดยการจัดส่งถุงยังชีพ น้ำดื่ม อาหารปรุงสำเร็จ และของใช้จำเป็น ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวเพื่อรองรับผู้ที่ต้องอพยพจากพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษในช่วงวิกฤต
– จังหวัดสงขลาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลัง โดยเฉพาะการดำเนินการกู้ภัยในพื้นที่ที่ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมสูง หรือการให้การช่วยเหลือ
ในพื้นที่ห่างไกลที่เข้าถึงยาก โดยเน้นการให้บริการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
4. จังหวัดนราธิวาส
– ส่งมอบ ถุงยังชีพ 20,788 ถุง ข้าวกล่อง 418,241 กล่อง น้ำดื่ม 355,692 ขวด ยาสามัญประจำบ้าน 2,278 ชุด กระสอบทราย 4,600 กระสอบ หญ้าแห้ง 190 ฟ่อน อาหารสัตว์ 75 ก้อน และ อาหารหมัก 10 ถุง
– มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ส่งมอบเต็นท์ 26 หลัง
– มอบเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิต 2 ราย ครอบครัวละ 29,700 บาท
– ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ส่งมอบข้าว 2,800 กล่อง จากครัวกาชาดนราธิวาส พร้อมน้ำดื่ม 3,500 ชุด แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.ระแงะ บาเจาะ สุไหงโก-ลก และ อ.ศรีสาคา
– รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นำเสบียงสัตว์ (หญ้าแห้ง) หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน ส่งมอบให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่ อ.ตากใบ 100 ฟ่อน (2,000 กิโลกรัม) พร้อมด้วยถุงยังชีพ และน้ำดื่ม
– สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนราธิวาสติดตามสถานการณ์สินค้า เพื่อไม่ให้ขาดแคลนและป้องกันการขึ้นราคาสินค้า โดยจังหวัดนราธิวาสยังไม่มีการขาดแคลนและขึ้นราคาสินค้าจำเป็น
6. จังหวัดพัทลุง
– ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี และเทศบาลเมืองพัทลุง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง บริเวณศาลาประชาคมหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ต.ป้าพะยอม (ระยะห่างจากวัดป่าพะยอม ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเร่งระบาย และติดตั้งครึ่องสูบน้ำระยะไกล จำนวน 8 จุด
– หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนข้าวกล่อง450 กล่อง ถุงยังชีพ 80 ชุด น้ำดื่ม 1,188 ขวด และ น้ำหมักชีวภาพ 440 ขวด ในพื้นที่ อ.ตะโหมด ปากพะยูน และเขาชัยสน
– โครงการชลประทานพัทลุง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่และได้ระบายน้ำในพื้นที่แล้วจำนวน 5 จุด รวม 6 เครื่อง
– สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็ว 5 นาย พร้อม รยบ.ขนาดเล็ก 1 คัน ส่งมอบถุงยังชีพ 15 ชุด น้ำดื่ม 300 ขวด ช่วยขนย้ายสิ่งของประชาชนในพื้นที่ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน ได้รับผลกระทบจากกรณีน้ำท่วมฉับพลัน 29 ครัวเรือน
– สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพัทลุง สนับสนุนน้ำดื่มเพื่อแจกจ่ายผู้ประสบภัย จำนวน 500 ขวด
– กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 500 ครัวเรือน ณ โรงครัวเคลื่อนที่ บริเวณวัดสะทัง อ.เขาชัยสน
– อำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง กำนันตำบลท่ามะเดือ นายกเทศมนตรีตำบลบางแก้ว
และราชการที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่แจกจ่าย ถุงยังชีพ 264 ชุด อาหารกล่อง 1,142 กล่อง น้ำดื่ม 4,356 ขวด
และสารบำบัดน้ำเสีย 590 ขวด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แจกจ่ายสิ่งของอุปโภคบริโภค จำนวน 39 อปท. รวม 93,378 ถุง ให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งภาพรวมการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยช่วงฤดูฝน ตามมติ ครม. รัฐบาลโอนเงินสำเร็จ รวม 295,049 ครัวเรือน เป็นเงิน 2,655,365,000 บาท
(3 ธ.ค. 67) เวลา 18.00 น. มีผู้ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือ 57 จังหวัด 302,740 ครัวเรือน ดำเนินการโอนเงินเยียวยาผ่านบัญชี Promptpay สำเร็จแล้ว 295,049 ครัวเรือน รวมเป็นเงิน 2,655,365,000 บาท โดยจะดำเนินการโอนครั้งที่ 39 วันที่ 4 ธ.ค. 67 ในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ หนองคาย และเชียงใหม่