Font Resizer

A Decrease font size. A Reset font size. A Increase font size.

40 views

ครม. ไฟเขียวเงินอุดหนุนเด็กตั้งแต่อายุครรภ์ 4 เดือน – 6 ปี ให้ 600บาท/คน พร้อมเคาะเกณฑ์ปรับเพิ่ม “เบี้ยผู้สูงอายุ – คนพิการ”


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (ก.ส.ค.) ที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ และนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นรองประธานคณะกรรมการ ข้อเสนอดังกล่าวครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเด็กและเยาวชน 2) กลุ่มผู้สูงอายุ 3) กลุ่มคนพิการ 4) กลุ่มวัยแรงงาน และ 5) สวัสดิการสำหรับครอบครัว อาทิ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด การขยายเวลาให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาจาก 12 ปี เป็น 15 ปี ปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ และคนพิการ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม

(29 พ.ย. 67) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบและมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ตามที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (ก.ส.ค.) เสนอ

กระทรวง พม. โดย ก.ส.ค. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับส่วนราชการระดับภูมิภาค จังหวัด และภาคีเครือข่าย รวมทั้งจัดประชุมร่วมกับหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคมและที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” ตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเด็กและเยาวชน 2) กลุ่มผู้สูงอายุ 3) กลุ่มคนพิการ 4) กลุ่มวัยแรงงาน และ 5) สวัสดิการสำหรับครอบครัว โดยคำนึงถึงมาตรฐานขั้นต่ำของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งพิจารณามาจากความต้องการขั้นพื้นฐานในชีวิตของคนตลอดช่วงวัย และนำมาเทียบเคียงกับสวัสดิการที่รัฐจัดให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชาชนทุกช่วงวัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำ ที่เกิดขึ้นในสังคม

ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการขับเคลื่อน
1.  กลุ่มเด็กและเยาวชน ปรับฐานกลุ่มเป้าหมาย /ขยายอายุเด็กให้ครอบคลุมตั้งแต่ปรับฐานกลุ่มเป้าหมายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นการให้เงินอุดหนุนแบบถ้วนหน้าโดยไม่ต้องมีการคัดกรองรายได้ของครอบครัว (เดิมครัวเรือนต้องมีสมาชิกที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี) เพื่อให้ครอบคลุมและทำให้เด็กได้รับความช่วยเหลือแบบถ้วนหน้า ไม่ตกหล่นขยายอายุของเด็กให้ครอบคลุม เริ่มจากเด็กในครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 6 ปี (เดิมตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 ปี) ได้รับเงินในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน (เท่าเดิม) เพื่อเป็นหลักประกันว่าเด็กทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม แม้ครอบครัวจะมีรายได้ลดลง– ผลักดันและขับเคลื่อนข้อเสนอในการขยายเงินอุดหนุนฯ ให้ครอบคลุมแบบถ้วนหน้าและขยายอายุของเด็กตั้งแต่ครรภ์ 4 เดือน- 6 ปี ในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน – พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพฐานข้อมูลโครงการเงินอุดหนุนฯ รองรับการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถรองรับกลุ่มเป้าหมายทุกคน จุดเด่นคือผู้ปกครองสามารถยื่นขอรับสิทธิผ่าน Mobile Application เงินเด็ก ซึ่งเชื่อมโยงกับข้อมูล            ทะเบียนราษฎร  กรมการปกครอง เพื่อยืนยันตัวตนของผู้รับสิทธิ ลดความผิดพลาดในการนำเข้าข้อมูล                    ลดจำนวนเอกสาร และลดระยะเวลาการดำเนินการ – เชื่อมโยงฐานข้อมูลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เชื่อมโยงฐานข้อมูล สธ. เพื่อติดตามการเข้าสู่การคัดกรองพัฒนาการของเด็ก ภาวะโภชนาการ การได้รับวัคซีน การดื่มนมแม่ และการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขด้านอื่น ๆ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับ ศธ. เพื่อติดตามการเข้าสู่ระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไปที่อยู่ในสังกัด ศธ. ที่เข้ารับบริการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย – เพิ่มช่องทางการคืนเงิน กรณีครอบครัวที่ไม่ประสงค์รับเงินอุดหนุนฯ และนำเงินมาใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับเด็ก
พัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา เพื่อขยายระยะเวลาให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 15 ปี รวมถึงพัฒนาการศึกษาทั้งในส่วนของหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและมีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งในกรณีเด็กที่หลุดออกจากระบบในช่วงส่งต่อการศึกษา ควรมีสวัสดิการในการแนะแนวอาชีพและให้คำปรึกษา  ควรมีการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อขยายระยะเวลาให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 15 ปี เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และมาตรา 17 บัญญัติให้มีการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 9 ปี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายสิทธิสวัสดิการการศึกษาให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากเดิม เช่น เรียนฟรี อุปกรณ์ฟรี อาหารฟรี ร่วมกิจกรรมฟรี ฟรีรถรับส่ง – ทบทวนการจัดสรรงบประมาณรายหัวสำหรับนักเรียน และเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ด้านการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน – เพิ่มเติมสวัสดิการในการดูแลเด็กและเยาวชนช่วงหลังเลิกเรียนและวันหยุด โดยการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์และแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนทั้งในพื้นที่จริงและสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อให้เด็กสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม เกิดการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนกลายเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ – ติดตามประเมินผลการจัดสวัสดิการสังคมด้านการศึกษา เพื่อชี้ให้เห็นผลตอบแทนเชิงสังคมที่เกิดจากการลงทุนด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาสวัสดิการด้านการศึกษาให้ได้มาตรฐานมากขึ้น
หน่วยงานรับผิดชอบ : พม. กระทรวงดีอี ศธ. สธ. และ อปท.
2. กลุ่มผู้สูงอายุ 1. การปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได อายุ 60 – 69 ปี เดือนละ 700 บาทอายุ 70 – 79 ปี เดือนละ 850 บาท อายุ 80 – 89 ปี เดือนละ 1,000 บาทอายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไป เดือนละ 1,250 บาท เพื่อให้เพียงพอต่อค่าครองชีพของผู้สูงอายุในปัจจุบัน สำหรับประมาณการงบฯ ที่ต้องใช้ในกรณีปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังกล่าวในปี 2567 เป็นเงิน 123,353 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นทุกปีจนถึงปี 2573 เป็นเงิน 152,903 ล้านบาทการผลักดันและขับเคลื่อนข้อเสนอในการปรับเบี้ยผู้สูงอายุแบบขั้นบันได – การพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลในการเข้าถึงและจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็นปัจจุบันและอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ – การเพิ่มช่องทางการคืนเงิน กรณีผู้สูงอายุไม่ประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และนำเงินมาใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุ
2.  ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ของชุมชน(Community Center) สำหรับทุกช่วงวัย โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการดูแลคนทุกช่วงวัยให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นควรร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น อปท. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน คนในชุมชน ผู้สูงอายุ ในการส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งศูนย์ของชุมชน โดยร่วมกันออกแบบโครงสร้าง แนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนทุกช่วงวัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยชุมชนดูแลกันเอง เน้นการใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชน เช่น โรงเรียนที่ปิดตัวไม่มีการเปิดการเรียนการสอนมาเป็นพื้นที่ในการจัดตั้งศูนย์ – ควรมีหน่วยงานในพื้นที่ทำหน้าที่ประสานและมีรถรับส่งผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางในศูนย์ของชุมชนหรือในชุมชนไปยังสถานพยาบาล
3. การส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสม ตามกฎหมายแรงงาน ได้กำหนดอายุ               วัยแรงงานตั้งแต่ 15 – 60 ปี แต่หากผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีศักยภาพและกำลังในการทำงานหลังครบกำหนดอายุตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมายคุ้มครองแรงงานควรกำหนดให้มีการรับรองสิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ ควรมีมาตรการการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุเพื่อคุ้มครองเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำงานและสภาพการจ้างงาน เช่น งานและสถานที่อันตรายที่ห้ามผู้สูงอายุทำงาน ชั่วโมงการทำงานต่อวันและต่อสัปดาห์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. …. โดยหมายรวมถึงผู้สูงอายุด้วย แต่กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีผลบังคับใช้การผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. …. 
ในการคุ้มครองแรงงานอิสระที่เป็นแรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานหรือประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกันทางสังคม
การส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการจ้างงานแรงงานผู้สูงอายุ เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีให้สถานประกอบการที่จ้างงานผู้สูงอายุ – ควรสร้างและฝึกทักษะอาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
หน่วยงานรับผิดชอบ : พม. กระทรวงแรงงาน (รง.) สธ. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และ อปท.
3. กลุ่มคนพิการ 1. การปรับเบี้ยความพิการให้สอดคล้องกับค่า ครองชีพเป็น 1,000 บาท แบบถ้วนหน้าโดยดำเนินการควบคู่ไปกับการนำคนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม และเป็นธรรม– การผลักดันข้อเสนอเชิงในการปรับเบี้ยความพิการให้สอดคล้องกับค่าครองชีพการทบทวนคำนิยาม “คนพิการ” ให้ชัดเจนและทุกหน่วยงานใช้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันในการทำงาน – การปรับลดขั้นตอน/กระบวนการสำหรับการขอบัตรประจำตัวคนพิการและขอรับเบี้ยความพิการ โดยให้บริการแบบครบวงจรมีระบบ One Stop Service – การออกใบรับรองความพิการผ่านแอปพลิเคชัน โดยให้เชื่อมกับแอปพลิเคชันสุขภาพที่มีอยู่
2. การส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนพิการเพิ่มมากขึ้นควรเริ่มจากการปรับทัศนคติของผู้ประกอบการ ในการพิจารณาศักยภาพในการทำงานของคนพิการอย่างเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติจากความบกพร่องด้านความพิการมีการกำหนดหรือปรับปรุงกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติในการทำงานที่ชัดเจน และทำให้คนพิการมีโอกาสเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิการถูกจ้างงาน
การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อสิทธิในการเดินทาง/คมนาคมและบริการสาธารณะ สิทธิในการเข้าถึงที่พักอาศัย สินค้าและสิทธิในการติดต่อทางโทรคมนาคมเพื่อรองรับการเดินทางไปประกอบอาชีพของคนพิการให้เป็นไปด้วยความสะดวก
– ควรสร้างและฝึกทักษะอาชีพที่เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภทความพิการและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน – ควรส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนรับคนพิการเข้าทำงาน
3.  การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการด้านกายอุปกรณ์ ที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูและดูแลตนเองที่บ้าน รวมทั้ง การบริการด้านการศึกษา สาธารณสุข และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ไม่สามารถตอบโจทย์ความพิการแต่ละประเภท– การส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้ง “ธนาคารกายอุปกรณ์” ให้ยืมอุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้มีความจำเป็นในระดับจังหวัดให้มีความครอบคลุมทุกพื้นที่ และพัฒนาระบบการให้บริการในการขอรับกายอุปกรณ์ให้มีความสะดวกสบาย และเอื้อต่อผู้มาขอรับบริการ โดยให้ชุมชนดูแลกันเอง – การส่งเสริมให้มีสถานที่พักพิงชั่วคราวในการฝากดูแลคนพิการผู้สูงอายุ และผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เช่น อปท. จัดสถานที่สำหรับดูแลคนพิการในชุมชนโดยมีอาสาสมัครซึ่งเป็นคนในชุมชนมาช่วยดูแลโดยอาสาสมัครต้องได้รับการฝึกอบรมการดูแลคนพิการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ตามประเภทความพิการ และได้รับค่าตอบแทนเหมือนกับอาสาสมัครหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : พม. สธ. อปท.
4. กลุ่มวัยแรงงาน 1. การยกระดับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบโดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและขยายสิทธิประกันสังคมที่ตรงตามความต้องการของแรงงานนอกระบบการปรับปรุงสถานภาพทางกฎหมายของแรงงานรูปแบบใหม่ในอนาคต (Gig Worker) ผ่านการปรับปรุงนิยามของผู้รับจ้างและลูกจ้าง โดยคำว่าลูกจ้างครอบคลุมถึงผู้รับจ้างบางกลุ่ม เช่น แรงงาน Gig Worker หรือการจัดประเภทแรงงานให้ชัดเจนว่าเป็นแรงงานประเภทใด หรือการจัดประเภทแรงงานเหล่านี้ขึ้นใหม่ เพื่อให้แรงงานกลุ่มนี้เข้าถึงความคุ้มครองทั้งทางกฎหมายและทางสังคม
– การปรับปรุงสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจแรงงานนอกระบบ/แรงงาน Gig Worker ให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยการเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์มาตรา 40 จากเดิมมี 3 ทางเลือกให้มีทางเลือกมากขึ้น
การศึกษาความเป็นไปได้ด้านงบประมาณและคำนวณงบประมาณคาดการณ์ที่จะใช้สำหรับการเพิ่มสิทธิประโยชน์
2. การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมุ่งเน้น
การพัฒนาทักษะ (Re-skill) ยกระดับทักษะ (Up-Skill) เทคโนโลยีสารสนเทศ และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องดิจิทัล เพื่อให้การทำงานของลูกจ้างตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบกิจการ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด
จัดทำหลักสูตรการพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ตลาดแรงงาน และโครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบัน
โดยต้องมุ่งเน้นที่จะพัฒนาทักษะที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) ทักษะการเรียนรู้ 2) ทักษะด้านดิจิทัล และ 3) ทักษะทางด้านชีวิต สังคม และอาชีพ และใช้โปรแกรมประเมินข้อมูลรายบุคคล เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพว่าแต่ละคนเหมาะกับงานแบบใด เพื่อให้ได้งานที่เหมาะสมกับทักษะ รวมถึงให้ประกาศนียบัตรเพื่อรับรองผู้เข้าอบรมว่าสามารถทำงานได้จริง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : พม. ดศ. รง. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และ อปท.
5. สวัสดิการสำหรับครอบครัว พัฒนา “แนวทางสวัสดิการบริการสนับสนุนครอบครัว (Family Support Service)” โดยให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมกับรูปแบบของครอบครัวที่แตกต่างกัน ออกแบบสวัสดิการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของครอบครัวแต่ละประเภท เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวสามารถเข้าถึง ได้รับสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น– ทบทวนคำนิยามและมุมมองต่อ “ครอบครัว” ให้ครอบคลุมครอบครัวทุกประเภท เพื่อให้สามารถกำหนดกรอบสวัสดิการสำหรับครอบครัวได้อย่างชัดเจน – การอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้กับครอบครัวที่มีความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในลักษณะของ In-Horne Care (การดูแลที่บ้าน) เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจนสามารถฟื้นคืนภาวะปกติ หรือลดความเสี่ยงต่ออาการในระดับที่รุนแรงขึ้น – ส่งเสริมและเสริมพลังให้ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจและมีบทบาทในการดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ถูกต้อง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง – พัฒนาและออกแบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมกับรูปแบบของครอบครัวที่แตกต่างกัน
– จัดบริการสังคมที่เหมาะสมกับครอบครัว
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : พม. มท. รง. ศธ.


ประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบายฯ

  • ประชาชนทุกช่วงวัย เช่น เด็กและเยาวชน วัยแรงงาน ผู้สูงอายุ คนพิการได้รับการจัดสวัสดิการที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้
  • มีกลไกท้องถิ่น ท้องที่ และภาคประชาสังคมเป็นฐานในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับครอบครัวและคนทุกช่วงวัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แจ้งข้อมูลเบาะแส