Font Resizer

A Decrease font size. A Reset font size. A Increase font size.

30 views

ครม. สัญจรทุ่มงบ 1.9 หมื่นล้านโครงการพื้นฟูเร่งด่วน-ระยะยาว ‘เชียงใหม่-เชียงราย’


นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) จังหวัดเชียงใหม่ เห็นชอบหลักการโครงการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยของจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ระยะเร่งด่วน 39 โครงการ วงเงิน 641.13 ล้านบาท โดยทั้งสองจังหวัดขอรับการจัดสรรงบประมาณ จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง เพื่อโครงการซ่อมแซมคมนาคม เขื่อนป้องกันตลิ่งและระบบการระบายน้ำ รวมถึงโครงการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยว และ ครม. เห็นชอบหลักการตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โครงการเร่งด่วนและระยะยาวของจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย (รวม 381 โครงการ) วงเงิน 19,282 ล้านบาท เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รวมถึงการเยียวยาให้แก่ประชาชน

(29 พ.ย. 67) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) จังหวัดเชียงใหม่ว่า ครม. เห็นชอบหลักการโครงการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยของจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ระยะเร่งด่วน 39 โครงการ วงเงิน 641,127,300 บาท โดยให้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยเป็นโครงการซ่อมแซมคมนาคม เขื่อนป้องกันตลิ่งและระบบการระบายน้ำ รวมถึงโครงการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยว

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.สัญจรว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โครงการเร่งด่วนและ
ระยะยาวของจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย วงเงิน 19,282,546,976 บาท เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยจังหวัดเชียงใหม่ของบประมาณในการแก้ไขถนนที่เสียหายจากอุทกภัย ส่วนที่จังหวัดเชียงรายเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า สาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเยียวยาให้แก่ประชาชน
นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งประเทศ ด้วยการลดภาระด้านภาษีเพื่อซ่อมแซมบ้าน รถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ

1. เห็นชอบในหลักการโครงการเร่งด่วนของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ที่เห็นควรสนับสนุน จำนวน 39 โครงการ กรอบวงเงินรวม 641,127,300 บาท โดยให้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้สำนักงบประมาณตรวจสอบความซ้ำซ้อนของโครงการและงบประมาณต่อไป

          (1) จังหวัดเชียงใหม่ เห็นควรสนับสนุน จำนวน 20 โครงการ กรอบวงเงินรวม 243,528,000 บาท

(2) จังหวัดเชียงราย เห็นควรสนับสนุน จำนวน 19  โครงการ กรอบวงเงินรวม 397,599,300 บาท

2. รับทราบข้อเสนอโครงการพัฒนาในระยะยาวเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการของจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เพื่อช่วยป้องกันและฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัย จำนวนรวม 381 โครงการ กรอบวงเงินรวม 19,282,546,976 บาท ดังนี้

 (1) จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 16 โครงการ กรอบวงเงิน 6,226,105,500 บาท ประกอบด้วย โครงการด้านการพัฒนาและปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 8 โครงการ งบประมาณรวม 5,200,788,000 บาท โครงการด้านการฟื้นฟูการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 5 โครงการ งบประมาณรวม 753,223,500 บาท และโครงการด้านอื่น ๆ จำนวน 3 โครงการ (การจัดการเศษวัสดุชีวมวลเพื่อป้องกันปัญหาไฟป่าและลดการเกิด PM2.5 ปรับปรุงหลังคาชั้นดาดฟ้ากลุ่มอาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม) งบประมาณรวม 272,094,000 บาท

           (2) จังหวัดเชียงราย จำนวน 365 โครงการ กรอบวงเงิน 13,056,441,476 บาท ประกอบด้วย โครงการด้านการพัฒนาและปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 360 โครงการ งบประมาณรวม 12,993,694,976 บาท และโครงการด้านการฟื้นฟูการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน
5 โครงการ งบประมาณรวม 62,746,500 บาท

          ทั้งนี้ ข้อเสนอโครงการพัฒนาในระยะยาวเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งในมิติอื่นให้แก่พื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายดังกล่าว
จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับอุทกภัยและพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมสู่ความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยเห็นควรบรรจุข้อเสนอโครงการพัฒนาในระยะยาวดังกล่าว ไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน
เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการต่อไป

ข้อเสนอโครงการเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย จะช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยได้รับการปรับปรุง ซ่อมแซมและฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ดังเดิม และช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาใช้จ่ายในพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นซ้ำในอนาคตเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการอยู่อาศัยและประกอบกิจการ
ครม. อนุมัติ มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้าน-มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้านและมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ)
2. รับทราบการดำเนินการของ กค. ในการออกประกาศกระทรวงการคลังขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีหรือนำส่งภาษีออกไปเป็นภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2567
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงการคลัง เสนอว่า
1. จากการรายงานสถานการณ์สาธารณภัยของศูนย์ข้อมูลสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พบว่า ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ประเทศไทยมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดย ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2567 พบว่า มีบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 256,405 ครัวเรือน และมีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย (กรณีอุทกภัย) และการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีอุทกภัย) แล้วดังนี้
1.1 จังหวัดที่มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย (กรณีอุทกภัย) มีจำนวน 49 จังหวัด 291 อำเภอ 1,358 ตำบล และ 8,367 หมู่บ้าน
1.2 จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีอุทกภัย)
มีจำนวน 45 จังหวัด 262 อำเภอ 1,183 ตำบล และ 7,336 หมู่บ้าน
2. ที่ผ่านมา กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากร ได้มีมาตรการภาษีเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัยสำหรับผู้ประสบอุทกภัยและสำหรับผู้บริจาคอยู่แล้ว แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

1. มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัยสำหรับผู้ประสบอุทกภัย

มาตรการรายละเอียด
          1.1 ผู้ประสบอุทกภัยไม่ต้องนำเงินช่วยเหลือที่ได้รับไปเสียภาษีเงินได้                                   1.2 ผู้ประสบอุทกภัยที่เป็นผู้ประกอบการสามารถหักค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้           1.3 ผู้ได้รับเงินจากรัฐบาลเพื่อนำไปใช้ป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นไม่ต้องนำเงินดังกล่าวไปเสียภาษีเงินได้· ผู้ประสบอุทกภัยทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินช่วยเหลือที่ได้รับ ดังนี้          
1) เงินชดเชยที่ได้รับจากรัฐบาล          
2) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคหรือช่วยเหลือเพื่อชดเชยความเสียหายไม่เกินกว่ามูลค่าความเสียหายที่ได้รับ          
3) ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้รับจากบริษัทประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหาย · ผู้ประสบอุทกภัยที่เป็นผู้ประกอบการซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย เช่น ทรัพย์สินหรือสินค้าเสียหาย สามารถหักค่าใช้จ่ายหรือหักรายจ่ายค่าความเสียหายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้          
1) ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา (ซึ่งมีเงินได้ตามมาตรา 40 (5) ค่าเช่าทรัพย์สิน (6) ค่าวิชาชีพอิสระ เช่น ทนายความ แพทย์ วิศวกร และสถาปนิก (7) ค่ารับเหมาหรือ (8) เงินได้จากธุรกิจ แห่งประมวลรัษฎากร) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น (มีผลเท่ากับการให้หักค่าใช้จ่ายค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น)          
2) ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้) · ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อนำไปใช้ลงทุนในทรัพย์สินเพื่อป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยทรัพย์สินนั้นต้องมีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี หรือ 1 รอบระยะเวลาบัญชี
2. มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัยสำหรับผู้บริจาค
มาตรการรายละเอียด
          2.1 ผู้บริจาคให้แก่ส่วนราชการหรือองค์กร
สาธารณกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยสามารถหักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายได้ 1 เท่า
          2.2 ผู้บริจาคให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นตัวแทนรับเงินหรือทรัพย์สิน (เช่น การรับบริจาคเงินช่วยเหลือผ่านรายการโทรทัศน์) เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยสามารถหักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายได้ 1 เท่า
· ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดาหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ 1 เท่า แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ · ผู้บริจาคที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคได้ 1 เท่า แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ · ผู้บริจาคที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือเป็นนิติบุคคลอื่น ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) สำหรับการบริจาคสินค้า (ไม่ถือว่าการบริจาคสินค้า เป็นการขายสินค้า)
ช่วงเวลาประเภทของภัยธรรมชาติรายละเอียดมาตรการ
· วันที่ 25 กรกฎาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555· อุทกภัย (บริเวณพื้นที่ภาคกลางกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)· ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนค่าซ่อมแซมบ้านตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และค่าซ่อมแซมรถตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
· วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560· อุทกภัย (บริเวณพื้นที่ภาคใต้)
· วันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560· อุทกภัย (บริเวณพื้นที่ภาคกลาง)
· วันที่ 3 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562· พายุโซนร้อนปาบึก (บริเวณพื้นที่ภาคใต้)
· วันที่ 29 สิงหาคม 2562 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562· พายุโซนร้อนโพดุล พายุโซนร้อนคาจิกิและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (บริเวณณพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

กระทรวงการคลัง พิจารณาแล้วเห็นว่า ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยตามข้อ 2 เริ่มคลี่คลายแล้ว ประกอบกับประชาชนและธุรกิจต่าง ๆ มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย โดยที่ผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายค่าซ่อมแซมทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรอยู่แล้ว แต่ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาส่วนใหญ่ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายหรือหักลดหย่อนค่าซ่อมแซมทรัพย์สินในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดั้งนั้น เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลธรรมดาผู้ประสบอุทกภัย เห็นควรออกมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้านและมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ โดยได้ยกร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้านและมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ) ซึ่งมีหลักการเดียวกับมาตรการภาษีเฉพาะคราวที่เคยดำเนินการตามข้อ 2.2 โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้

1. มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้าน
สิทธิประโยชน์เงื่อนไข
· ให้บุคคลธรรมธรรมดาหักลดหย่อนภาษีเงินได้
(ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคล) สำหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอาคารหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งกับตัวอาคารหรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารหรือในการซ่อมแซมห้องชุด
ในอาคารชุดหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งกับห้องชุด
ในอาคารชุด ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 100,000 บาท  
· ได้จ่ายระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 · ทรัพย์สินนั้นได้รับความเสียหายจากอุทกภัยระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามข้อ 1.1 – 1.2 · ผู้มีเงินได้ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เช่า หรือผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
ใช้ประกอบกิจการ หรือใช้ประโยชน์อื่น · ในกรณีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินมากกว่า 1 แห่ง ให้รวมคำนวณค่าซ่อมแซมฯ ทุกแห่งเข้าด้วยกัน  
2. มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ
สิทธิประโยชน์เงื่อนไข
· ให้บุคคลธรรมธรรมดาหักลดหย่อนภาษีเงินได้
(ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคล) สำหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์) หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 30,000 บาท  
· ได้จ่ายระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่
1 ธันวาคม 2567 · รถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถนั้นได้รับความเสียหายจากอุทกภัยระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามข้อ 1.1 – 1.2 · ผู้มีเงินได้ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้เช่าซื้อรถนั้น · ในกรณีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกในรถมากกว่า 1 คัน ให้รวมคำนวณค่าซ่อมแซมฯ รถทุกคันเข้าด้วยกัน

4. เนื่องจากผู้เสียภาษีที่อยู่ในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลา (ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหรือการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต) เพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงเห็นควรขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ซึ่ง กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการได้เองและเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีทราบไปในคราวเดียวกันนี้ โดยจะขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาออกไปเป็นภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2567 ซึ่งเป็นวันทำการวันสุดท้ายของปีตามปฏิทินภาษีอากร (ขยายระยะเวลาให้สำหรับการยื่นรายการภาษีแบบกระดาษทุกประเภทรายการภาษี) โดยออกเป็นประกาศกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ กำหนดการการยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567) มีรายละเอียด ดังนี้

ประเภทรายการภาษีกำหนดระยะเวลาเดิมกำหนดระยะเวลาขยาย เฉพาะแบบกระดาษ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด. 94ยื่นภายในเดือนกันยายน 256727 ธันวาคม 2567  
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามแบบ ภ.ง.ด. 51ยื่นภายในเดือนกันยายน 2567
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด. 2 ภ.ง.ด. 3 ภ.ง.ด. 53 และ ภ.ง.ด. 547 พฤศจิกายน 2567 (สำหรับยื่นกระดาษ) 15 พฤศจิกายน 2567 (สำหรับยื่นอินเทอร์เน็ต)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. 36
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. 30
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบ ภ.ธ. 40
อากรแสตมป์ ตามแบบ อ.ส. 4 อ.ส. 4ก อ.ส. 4ข. และ อ.ส. 9ยื่นภายใน 15 วันนับแต่วันจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ซึ่งจะทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการประมาณ 1,500,000 ราย ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมีภาระการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีน้อยลงและ
มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในช่วงประสบอุทกภัยโดยไม่ทำให้รัฐสูญเสียรายได้

          5. กระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง
ของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับร่างกฎกระทรวงที่เสนอมาครั้งนี้แล้ว

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          1) ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้รับการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิตามมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้าน 4 ล้านราย และผู้ใช้สิทธิตามมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ 4 ล้านราย

          2) ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยสามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง

          หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้

  • สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161
  • สามารถเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินได้ที่เว็บไซต์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย https://datacenter.disaster.go.th/datacenter/

แทก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แจ้งข้อมูลเบาะแส