นับได้ว่าเป็นข่าวดังที่สะเทือนใจทุกคนเป็นอย่างมาก จากกรณีที่ ‘ป้าบัวผัน’ หญิงสติไม่สมประกอบ ถูกกลุ่มวัยรุ่นรุมทำร้ายและฆ่าอย่างโหดเหี้ยม โดยกลุ่มผู้ก่อเหตุ มีอายุเพียง 13-16 ปีเท่านั้น!
ประเด็นนี้ทำให้โลกโซเชียลร้อนระอุ เกิดกระแสวิพากษ์วิจารย์อย่างหนัก โดยมีชาวเน็ตบางส่วนได้ย้อนรอยไปถึงคดีที่เด็กอายุ 14 ปี ก่อเหตุกราดยิงที่ห้างสรรพสินค้าดังใจกลางเมืองด้วย ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่พูดถึงคือเรื่องของการแก้ไขกฎหมาย ให้เด็กและเยาวชนได้รับโทษแบบผู้ใหญ่
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าโทษของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดนั้นเป็นอย่างไร ? แล้วทำไมคนบางส่วนถึงได้มีการจี้ให้แก้ไขกฎหมายให้เด็กและเยาวชน วันนี้ ‘ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย’ หาคำตอบมาให้แล้ว
เปิดโทษ ‘อาชญากรเด็ก’
กระบวนการและขั้นตอนในการจับกุมเด็กและเยาวชนนั้น มีกฎหมายหลักที่ใช้ คือ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565
เมื่อมีการจับกุมเด็กและเยาวชน (อายุต่ำกว่า 12 – 18 ปี) กำหนดให้ “ตำรวจ” ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิตามกฎหมายให้เด็กและเยาวชนทราบ หลังจากนั้นก็ให้นำตัวเด็กหรือเยาวชนไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยเร็ว ทำการสอบสวนสอบปากคำ ดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย และให้ ส่งตัวเด็กหรือเยาวชน ที่ถูกจับไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุม ภายในเวลา 24 ชั่วโมง
อายุต่ำกว่า 12 ปี ทำผิดไม่ต้องรับโทษ
อายุ 12 – 15 ปี ทำผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลสามารถดำเนินการต่าง ๆ ได้
- ว่ากล่าวตักเตือน
- ปล่อยตัวชั่วคราว (มี/ไม่มีประกัน)
- ส่งตัวเด็กไปยังสถานศึกษา/ฝึกอบรม
- มอบตัวเด็กให้อยู่กับบุคคล/องค์กรที่ศาลเห็นสมควร
- อื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสามควร
*ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
อายุ 15 – 18 ปี - หากศาลเห็นว่า ยังไม่เห็นสมควรพิพากษาลงโทษ จะให้ดำเนินการเช่นเดียวกับเด็กและเยาวชนอายุ 12-15 ปี
- หากพิพากษาลงโทษ จะดำเนินการ ดังนี้
- ลดโทษกึ่งหนึ่งของโทษทางกฎหมาย กำหนดไว้สำหรับความผิดในคดีอาญา
- สั่งโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้
ทุกคนได้อ่านข้อกฎหมายนี้แล้ว คิดว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่กฎหมายเด็กและเยาวชนควรเปลี่ยน ?
ข้อมูล : สำนักงานกิจการยุติธรรม