ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นให้เราสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีแฮกเกอร์หัวใสที่พยายามหาช่องทางเพิ่มรายได้ให้ตนเองโดยการทำแอปพลิเคชันปลอมเพื่อหลอกขโมยข้อมูลหรือแพร่มัลแวร์
ซึ่งมี 7 เทคนิคง่าย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงจากแอปพลิเคชันปลอมมาฝาก เริ่มจาก
1. อย่าไว้ใจแอปพลิเคชันนอก Official Store ผู้ที่ใช้ระบบ iOS ควรทำการดาวน์โหลดผ่านทาง App Store ส่วนผู้ใช้งานในระบบ Android ดาวน์โหลดผ่าน Google Play โดยควรดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน จาก 2 แหล่งนี้เท่านั้น การติดตั้งแอปพลิเคชันด้วยวิธีการอื่น ๆ เสี่ยงแอปฯ ปลอมหรือแฝงมัลแวร์มาด้วย
2. เช็กคะแนนรีวิวแอปพลิเคชันอีกหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่าแอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้จริง เพราะถ้าหากมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่จริงแล้ว จะมีผู้คนมาบ่นเพื่อรีวิวถึงการใช้งาน ซึ่งนั่นจะช่วยให้คุณปลอดภัยจากแอปพลิเคชันปลอมได้
3. อ่านรายละเอียดคำอธิบายของแอปพลิเคชันก่อนเลือกติดตั้งสังเกตจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ วิธีการเขียน ไวยากรณ์ และการใช้เครื่องหมายวรรคตอนไม่ถูกต้องเป็นสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันดูไม่เป็นมืออาชีพ เพราะคำอธิบายแอปพลิเคชันเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ผู้พัฒนาสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ติดตั้งในหน้า Official Store ได้
4. ตรวจเช็กว่าใครเป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชันชื่อเสียงเป็นเรื่องสำคัญ ค้นหาแอปฯ ที่นักพัฒนาเคยพัฒนาไว้ มีผู้ดาวน์โหลดจำนวนมากน้อยเพียงใด และถ้ามีแอปฯ ที่มีความสามารถคล้าย ๆ กัน ควรเลือกติดตั้งแอปฯ จากนักพัฒนาที่น่าเชื่อถือก่อนเป็นอันดับแรก
5. ดูเว็บไซต์หลักของนักพัฒนาแอปพลิเคชันนั้น ๆแนะนำให้คุณตรวจสอบเบื้องต้นก่อนว่าบริษัทมีรายละเอียดอยู่ใน Wikipedia หรือมีเว็บไซต์ Official หรือไม่
6. ภาพ Screenshots ของแอปพลิเคชันต้องคมชัดไม่แตกควรให้ความสนใจกับรูปภาพ Screenshots ของแอปพลิเคชันที่จะดาวน์โหลดด้วย เพราะพวกแอปพลิเคชันปลอมส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะทำการขโมยรูปมาจากที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้งาน ทำให้รูปภาพไม่คมชัดต่างจากแอปพลิเคชันจริง ๆ
7. ดูยอดการติดตั้งแอปฯมีความจริงที่เกี่ยวกับจำนวนตัวเลขให้เปรียบเทียบกันว่าระหว่างแอปพลิเคชัน ที่มีการติดตั้งมากกว่า 1,000,000 ครั้งกับ 1,000 ครั้ง ลองคิดดูว่าแอปพลิเคชันไหนที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน
ถ้าพบแอปพลิเคชันปลอมควรรายงานเรื่องราวผ่านแพลตฟอร์มนั้น
– Google Play ให้ไปที่ด้านล่างของคำอธิบาย และทำการคลิกที่การตั้งค่าสถานะถึงความไม่เหมาะสม จากนั้นคุณจะได้รับแบบฟอร์มในการแจ้งรายงานเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมไปยัง Google
– สำหรับ Apple นั้นกระบวนการอาจยากขึ้นเล็กน้อย โดยคุณต้องไปที่หน้ารายงานปัญหา และทำการลงชื่อเข้าใช้โดยใช้ Apple ID ของคุณ
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม