426 views

“เสมาโพล”สำรวจความเชื่อมั่นประชาชนต่อการเปิดภาคเรียนใหม่ 17 พ.ค.นี้…


นายวีระ แข็งกสิการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสังคมไทยในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะมิติด้านการจัดการศึกษาของประเทศ แต่เพื่อมิให้การเรียนรู้ของเด็กไทยต้องหยุดชะงัก กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงได้ปรับเปลี่ยนมาตรการการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องของเด็กไทย โดยให้โรงเรียนเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในเดือนพฤษภาคมนี้ ด้วยรูปแบบ On-site หรือจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนโดยการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

รองปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการศึกษา รวมทั้งเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “เสมาโพล” จึงได้ดำเนินการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 17,308 หน่วยตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 5-8 พฤษภาคม 2565 ซึ่งสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้

ความเชื่อมั่นต่อการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา 2565 ของกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยรูปแบบ On-site : ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.50 ระบุว่ามีความเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 36.28 ระบุว่าไม่แน่ใจ ส่วนร้อยละ 16.22 ระบุว่าไม่เชื่อมั่น

ความคิดเห็นต่อทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนของนักเรียนในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน : ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.13 เห็นว่าในสถานการณ์ปัจจุบันควรปรับเปลี่ยนเป็นการเรียนการสอนรูปแบบ On-site ที่โรงเรียนตามปกติ รองลงมา ร้อยละ 31.16 ระบุว่าควรจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Online สลับวันกับ On-site ที่โรงเรียน และร้อยละ 14.71 ระบุว่าควรเรียนรูปแบบ Online

ข้อกังวลเกี่ยวกับการเปิดภาคเรียนในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน : ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.60 ระบุว่า ประเด็นที่เป็นข้อกังวลเกี่ยวกับการเปิดภาคเรียนในช่วงสถานการณ์ปัจจุบันคือ กังวลเรื่องความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19 ในโรงเรียน รองลงมา ร้อยละ 8.20 ระบุว่ากังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ให้แก่บุตรหลาน ร้อยละ 7.90 ระบุว่ากังวลเรื่องความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ในระหว่างการเดินทางไปโรงเรียน ส่วนประชาชนร้อยละ 18.30 ระบุว่า ไม่มีข้อกังวลใด ๆ

มาตรการที่จะสร้างความมั่นใจต่อการเปิดภาคเรียนในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน: ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 23.32 ระบุว่ามาตรการที่จะสร้างความมั่นใจมากที่สุดสำหรับการเปิดภาคเรียนในรูปแบบ On-site ในโรงเรียน คือ มาตรการสวมหน้ากากอนามัย รองลงมา ร้อยละ 19.94 ระบุว่ามาตรการฉีดวัคซีนครู อาจารย์ และนักเรียนให้ครอบคลุม ร้อยละ 16.63 ระบุว่ามาตรการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ร้อยละ 13.61 ระบุว่ามาตรการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และร้อยละ 11.27 ระบุว่า มาตรการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ส่วนร้อยละ 15.23 ระบุว่าไม่มีมาตรการใดที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา 2565 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประชาชนมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา 2565 ของกระทรวงศึกษาธิการ ใน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เห็นด้วย โดยโรงเรียนต้องเน้นย้ำให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด อาทิ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก 100% ล้างมือ ตรวจหาเชื้อด้วย ATK เมื่อมีอาการหรือเสี่ยง และหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มกัน 2) เห็นด้วย เพราะการเปิดเรียนรูปแบบ on site จะทำให้เด็ก ๆ ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ตามพัฒนาการของวัย และกลับมามีสังคมกับเพื่อนๆ 3) ไม่เห็นด้วย เนื่องจากในปัจจุบันยังคงมียอดผู้ติดเชื้อสูง ทำให้นักเรียนมีความเสี่ยง ดังนั้นจึงควรจัดการเรียนการสอนแบบอื่นจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะดีขึ้น ตามลำดับ อันดับ ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ร้อยละ 1 เห็นด้วย โดยโรงเรียนต้องเน้นย้ำให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด อาทิ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก 100% ล้างมือ ตรวจหาเชื้อด้วย ATK เมื่อมีอาการหรือเสี่ยง และหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มกัน 26.65 2 เห็นด้วย เพราะการเปิดเรียนรูปแบบ On-site จะทำให้เด็ก ๆ ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ตามพัฒนาการของวัย และกลับมามีสังคมกับเพื่อน ๆ 25.21 3 ไม่เห็นด้วย เนื่องจากในปัจจุบันยังคงมียอดผู้ติดเชื้อสูง ทำให้นักเรียนมีความเสี่ยง ดังนั้นจึงควรจัดการเรียนการสอนแบบอื่น จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะดีขึ้น 12.45 4 ควรเปิดเรียนรูปแบบ Online สลับกับ On-site เพื่อลดความเสี่ยง 6.89 5 ไม่เห็นด้วย เพราะไม่เชื่อมั่นมาตรการและการจัดการของโรงเรียน 4.73 6 ควรเปิดเรียนรูปแบบวันเว้นวัน หรือ Online ไปก่อน เพื่อประเมินความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นระยะ ๆ 4.12 7 เห็นด้วย และกระทรวงศึกษาธิการควรสนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกันและลดความเสี่ยงของการติด โควิด 19 แก่นักเรียนอย่างทั่วถึง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง 3.09 8 เห็นด้วย เพราะเชื่อมั่นมาตรการและการจัดการของโรงเรียน 2.98

9 เห็นด้วย โดยแต่ละโรงเรียนต้องประเมินความพร้อมของโรงเรียนและสถานการณ์ในพื้นที่ก่อนตัดสินใจ หากโรงเรียนใดยังไม่พร้อมก็ให้ชะลอการเปิดเรียนไปก่อน 2.37 10 ไม่เห็นด้วย โรงเรียนควรเร่งฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรให้ครบถ้วนก่อน 1.95 11 ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีทางเลือกว่าประสงค์จะให้บุตรหลานเรียนรูปแบบใด 1.75 12 ควรเรียน Online เช่นเดิม โดยกระทรวงศึกษาธิการควรสนับสนุนงบประมาณและพัฒนาระบบการเรียน Online ให้มีคุณภาพมากขึ้น 1.65 13 ควรชะลอและเปิดเรียนรูปแบบ On-site ในภาคเรียนที่ 2 1.34 14 เห็นด้วย และเชื่อมั่นว่าสามารถเปิดเรียนปกติได้ เนื่องจากประชาชนมีการปรับตัวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา 1.34 15 เห็นด้วย และเชื่อมั่นในมาตรการว่าสถานศึกษา หน่วยงานทางการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการจะร่วมมือกันและมีมาตรการป้องกันที่ดีพอ 1.23 16 ควรเรียน online เช่นเดิม เนื่องจากนักเรียน ครูและบุคลากรบางคน ไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด 0.93 17 โรงเรียนควรมีการสอนซ่อมเสริมเพิ่มเติม เนื่องจากการเรียน Online ที่ผ่านมาทำให้เด็กได้ความรู้ไม่เต็มที่ 0.72 18 เห็นด้วย และโรงเรียนควรยกเลิกการตรวจ ATK ควรตรวจเฉพาะเมื่อมีอาการไม่สบายหรือเสี่ยงเท่านั้น 0.60 เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 78.36 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 21.64 เป็นเพศชาย ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 31.59 เป็นผู้มีอายุระหว่าง 30-39 ปี รองลงมาคือ ร้อยละ 28.22 เป็นผู้มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 27.09 เป็นผู้มีอายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 10.33 เป็นผู้มีอายุระหว่าง 50-59 ปี และร้อยละ 2.77 เป็นผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตามลำดับ

ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 57.72 จบการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี รองลงมาคือ ร้อยละ 30.46 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 11.82 จบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ

ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.83 เป็นผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยเรียน รองลงมาคือ ร้อยละ 17.23 เป็นนักเรียน นักศึกษา และร้อยละ 11.94 เป็นประชาชนทั่วไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข้อมูลเบาะแส