พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานผู้ติดเชื้อระรอกที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 – 17 มกราคม 2565 โดยเป็นผู้ติดรายใหม่วันนี้ 6,929 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 107,979 ราย หายป่วยเพิ่ม 5,255 ราย รวมหายป่วยสะสม 58,772 ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 82,210 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 533 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 108 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 13 คน รวมเสียชีวิตสะสม 240 คน ผู้ติดเชื้อในประเทศ 6,713 ราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและบริการ 6,670 ราย จากการคัดกรองเชื้อโรคในชุมชน 43 ราย ในเรือนจำ 7 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 209 ราย
ผู้เสียชีวิต 2 ราย ที่ติดเชื้อ covid 19 สายพันธุ์ โอมิครอน ในประเทศไทย
คนแรกเป็นหญิงอายุ 86 ปี ที่จังหวัดสงขลา เสียชีวิตวันที่ 12 มกราคม เป็นผู้ป่วยติดเตียง และสมองเสื่อม เริ่มมีอาการไข้ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม มีประวัติบุตรสาวติดเชื้อ และมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับหลานชายที่เดินทางกลับจากจังหวัดภูเก็ต และแนะนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ทันทีในวันที่ 7 มกราคม ผลตรวจ rt pcr ยืนยันเป็นบวก และอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว มีไข้สูง ปอดอักเสบ แต่อาการไม่ดีขึ้นและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
คนที่สองเป็นหญิงอายุ 84 ปี ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย เสียชีวิตวันที่ 15 มกราคม โดยระยะแรกที่มีอาการเจ็บป่วยติดเชื้อไม่ปรากฏอาการชัดเจน แต่มีประวัติบุตรชายติดเชื้อโควิค 19 จึงตรวจหาเชื้อด้วยวิธี rt pcr และผลยืนยันเป็นบวก เข้าสู่ระบบการรักษาระบบ home isolation ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม จนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม ผู้ป่วยเริ่มรับประทานอาหารได้น้อยลง แต่ยังไม่มีไข้ จนกระทั่งวันที่ 15 มกราคม คนไข้มีอาการเหนื่อย หายใจหอบ และเสียชีวิตในวันเดียวกัน
ส่วนการราบงานผู้ติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ที่พบในหลายจังหวัด ยังเป็นร้านอาหาร ร้านอาหารกึ่งผับ ถึงสถานบันเทิง โรงงาน สถานประกอบการ ตลาด งานเลี้ยงสังสรรค์ งานศพ ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก และกลับมาสัมผัสบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว เกิดการแพร่ระบาดเป็น cluster ขึ้น นอกจากนี้สิ่งที่ ศบค. เป็นห่วงคือกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ ได้แก่ ที่โรงพยาบาลภูมิพล โรงพยาบาลธนบุรี