- พื้นที่เฝ้าระวัง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล
12 พ.ย.64 เวลา 20.25 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (189/2564) ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 แจ้งว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคใต้ คาดจะเคลื่อนลงทะเลอันดามันในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่
ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) จึงได้แจ้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 14 จังหวัดภาตใต้เฝ้าระวังสถานการณ์ระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้1
1.พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ได้แก่
– ประจวบคีรีขันธ์ ในพื้นที่ทุกอำเภอ
– ชุมพร ในพื้นที่ทุกอำเภอ
– สุราษฎร์ธานี ในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง วิภาวดี กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก คีรีรัฐนิคม
พนม เวียงสระ เคียนซา พระแสง บ้านนาสาร ชัยบุรี บ้านตาขุน และอำเภอเกาะสมุย
– นครศรีธรรมราช ในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อพรหมคีรี พิปูน ฉวาง ลานสกา
ช้างกลาง ร่อนพิบูลย์ ทุ่งสง นาบอน ขนอม สิชล นบพิตำ ชะอวด ท่าศาลา และอำเภอจุฬาภรณ์
– พัทลุง ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตะโหมด ศรีบรรพต ศรีนครินทร์ กงหรา ป่าบอน ป่าพะยอม และ
อำเภอเขาชัยสน
– สงขลา ในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา รัตภูมิ จะนะ หาดใหญ่ สะเดา สะบ้าย้อย นาหม่อม
และอำเภอนาทวี
– ปัตตานี ในพื้นที่อำเภอโคกโพธิ์
– ยะลา ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยะหา กาบัง บันนังสตา กรงปินัง ธารโต และอำเภอเบตง
– นราธิวาส ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสาคร รือเสาะ และอำเภอจะแนะ
– ระนอง ในพื้นที่ทุกอำเภอ
– พังงา ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตะกั่วป่า คุระบุรี กะปง ตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง
– ภูเก็ต ในพื้นที่อำเภอถลาง
– กระบี่ ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกระบี่ เขาพนม และอำเภอปลายพระยา
– ตรัง ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน ห้วยยอด นาโยง และอำเภอย่านตาขาว
– สตูลในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอทุ่งหว้า ควนกาหลง มะนัง ละงู และอำเภอควนโดน
2. เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ได้แก่
– ชุมพร ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชุมพร ปะทิว สวี ทุ่งตะโก หลังสวน และอำเภอละแม
– สุราษฎร์ธานี ในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง พุนพิน กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก เกาะพงัน และอำเภอเกาะสมุย
– นครศรีธรรมราช ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ขนอม สิชล ท่าศาลา ปากพนัง และอำเภอหัวไทร
– สงขลา ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา ระโนด สทิงพระ สิงหนคร จะนะ และอำเภอเทพา
– ปัตตานี ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองจิก ยะหริ่ง ปานาเระ สายบุรี และอำเภอไม้แก่น
– นราธิวาส ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนราธิวาส และอำเภอตากใบ
โดยได้ประสานให้จังหวัดเสี่ยงภัยและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า รวมถึงจัดเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรกลสาธารณภัยและทีมปฏิบัติการเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ทันที หากประเมินแล้วมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ ให้จังหวัดดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศ สถานการณ์ภัย และข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้เตรียมความพร้อมมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น หากได้รับความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และแอปพลิเคชัน “พ้นภัย”รวมถึง สายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป