Font Resizer

A Decrease font size. A Reset font size. A Increase font size.

1034 views

ไม่จริง !! หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูง ในรอบ 18 ปี


❌❌ ข้อกล่าวหา ❌❌

เลขหนี้ครัวเรือนของประเทศพุ่งสูงแตะ 88-90% ต่อจีดีพี สูงสุดในรอบ 18 ปี สอดคล้องกับปัญหาเศรษฐกิจพังจากฐานราก คนไทยชักหน้าไม่ถึงหลัง รายได้เท่าเดิมแต่หนี้สินเพิ่มขึ้น

==============

✅ความจริง✅

หนี้สินครัวเรือนของประเทศไทยในไตรมาส 4 ปี 2562 อยู่ที่ 13.49 ล้านล้านบาท ในขณะที่ ไตรมาส 3 ปี 2563 อยู่ที่ 13.77 ล้านล้านบาท จะเห็นได้ว่าเพิ่มประมาณ 2% แต่พอเทียบสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP แล้ว กลับเพิ่มขึ้น 6.7% (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 79.9 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 86.6 ในไตรมาส 3 ของปี 2563)

ทำไมตัวเลขหนี้ครัวเรือนของ GDP ถึงเพิ่มขึ้น เพราะ GDP ที่นำมาคำนวณสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาส 1 – 3 ของปี 2563 หดตัวลงถึง 7.74%ในปี 2563 ที่ผ่านมา ทั่วโลกต้องประสบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ทำให้ GDP ของไทยและประเทศต่าง ๆ แทบทุกประเทศ ลดลงอย่างมาก

หลาย ๆ ประเทศก็มีหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับประเทศไทย เช่น ออสเตรเลีย นอร์เวย์ สวีเดน เนเธอแลนด์ แคนาดา ฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ มีหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ตั้งแต่ ร้อยละ 87.5 ไปจนถึงร้อยละ 128.1

หนี้ครัวเรือนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ ร้อยละ 67 ถูกใช้เพื่อซื้อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ จักรยานยนต์ การศึกษา ซึ่งเป็นหนี้ที่สร้างประโยชน์ให้กับประชาชน สร้างอาชีพสร้างรายได้ในอนาคต เพื่อให้ประชาชนเห็นภาพที่เข้าใจมากยิ่งขึ้น หนี้ครัวเรือนตั้งแต่ปี 2557 จนถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ถ้าเอาตัวเลขมาคำนวณจะพบว่าในรอบ 6 ปีที่ผ่านมาหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 48,000 ล้านบาท ในขณะที่หากย้อนกลับไปดูในไตรมาส 1/2555 จนถึงไตรมาส 2/2557 จะเห็นว่าตัวเลขหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 7.76 ล้านล้านบาท เป็น 10.14 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 87,000 ล้านบาท มากกว่าช่วงรัฐบาลนี้ 80%

สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ NPL ของหนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 3 ปี 2563 ยังอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 2.91 ของสินเชื่อรวม

รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขยายระยะเวลาชำระหนี้ การพักหนี้ การลดอัตราดอกเบี้ย การปรับโครงสร้างหนี้ การยกหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ การให้สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด ที่เรียกว่า สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนที่ต้องการเข้าถึงเงินกู้ แต่ไม่มีสินทรัพย์และรายได้ที่มั่นคง สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ง่ายกว่าเดิม และลดการกู้หนี้นอกระบบได้อีกทาง และ เพื่อช่วยเหลือประชาชนไม่ให้เกิดปัญหาข้อมูลเครดิต การผิดนัดชำระหนี้ จนกระทบต่อการประกอบอาชีพในระยะยาว เนื่องจากสถานการณ์โควิท

ล่าสุดรัฐบาลโดยกรมบังคับคดีและธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล กว่า 22 แห่ง จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับลูกนี้ 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มลูกหนี้ NPL ที่มีคำพิพากษาและเข้าสู่กระบวนการบังคับคดีแล้ว
  • กลุ่มลูกหนี้ NPL ที่ยังไม่ถูกฟ้องหรือถูกฟ้องแล้ว
  • กลุ่มที่ขาดสภาพคล่องชั่วคราว ค้างชำระหนี้เกิน 3 เดือน

ประชาชนที่มีปัญหาด้านการชำระหนี้สามารถเข้าร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ดังกล่าวได้ด้วยการลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึง 14 เมษายน 2564 ทาง website ของกรมบังคับคดี หรือธนาคารแห่งประเทศไทย หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

จากมาตรการต่างๆ ทำให้ภาพรวมการชำระหนี้ของลูกหนี้ปรับตัวดีขึ้น โดยภาพรวมลูกหนี้ที่ขอรับการช่วยเหลือทยอยลดลงจาก 7.2 ล้านล้านบาท ในเดือนกรกฎาคม 2563 เป็น 6 ล้านล้านบาท ในเดือนตุลาคม 2563 และ เมื่อครบกำหนดมาตรการการพักชำระหนี้ ลูกหนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ขอรับความช่วยเหลือต่อ และสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ ลูกหนี้รายย่อยที่มียอดหนี้รวม 1.23 ล้านล้านบาท ขณะนี้สามารถกลับมากชำระหนี้ตามเงื่อนไขปกติได้ถึง 70% และอีก 29% มีการปรับโครงสร้างหนี้หรือมีมาตรการผ่อนปรนมารองรับ


อ้างอิง

  • กระทรวงการคลัง
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข้อมูลเบาะแส