417 views

ยืนยัน “คลัง” ไม่ได้ถังแตก ความเหลื่อมล้ำลดลง


==================

❌❌ข้อกล่าวหาว่า ❌❌

” เจ๊งทั้งประเทศ”

🔹คอร์รัปชั่นรัฐบาลประยุทธ์ฉุดประเทศถอยหลัง เศรษฐกิจพุ่งดิ่งลงเหว การคลังถังแตก-คนจนไม่มีจะแดก สอดคล้องกับตัวเลขคนจนที่พุ่งสูงขึ้น 100% โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าวันละ 150 บาท (ครึ่งนึงของค่าแรงขั้นต่ำ) มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 4.7 ล้านคน เป็น 9.7 ล้านคนในปัจจุบัน นอกจากนี้ธนาคารโลกยังงัดตัวเลขตอกย้ำความเน่าเฟะในยุคลุงตู่อีกด้วยว่า อัตราความยากจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.2 ปี 2558 เป็นร้อยละ 9.8 ปี 2561 สวนทางกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ❌

✅✅ความจริง✅✅

ฟื้นตัวอย่างยั่งยืนทั้งประเทศ

🔹ภาพรวมในปี 2563 จากสถานการณ์โควิด เศรษฐกิจประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างก็มี GDP หดตัว เศรษฐกิจไทยหดตัวที่ร้อยละ -6.1 ต่อปี ซึ่งไม่ได้เป็นประเทศที่หดตัวต่ำที่สุดในอาเซียนแต่อย่างใด เศรษฐกิจประเทศอื่น ๆ ทั้งในอาเซียนและทั่วโลกต่างก็มีเศรษฐกิจที่หดตัวในระดับสูงเช่นกัน เช่น สหราชอาณาจักรหดตัวร้อยละ -9.9 ฟิลิปปินส์หดตัวร้อยละ -9.5 ยูโรโซนหดตัวร้อยละ -6.8 ฮ่องกงหดตัวร้อยละ -6.1 สิงคโปร์หดตัวร้อยละ -5.8 และมาเลเซียหดตัวร้อยละ -5.6 เป็นต้น

🔹ฐานะการคลังของประเทศไม่ได้ถังแตกอย่างที่กล่าวหา ระดับเงินคงคลังปลายงวด ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ 473,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปีงบประมาณก่อนหน้า ถึงร้อยละ 49.5

รายงานธนาคารโลก (World Bank) สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทยภาพรวม ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มลดลง อัตราการลดลงของความยากจนในประเทศไทย ลดลงจากร้อยละ 65.2 ในปี 2531 ไปสู่ร้อยละ 9.9 ในปี 2561

🔹ความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มลดลงในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ในปี 2531 ลดลงจาก 0.44 ไปสู่ 0.36 ในปี 2561 และจากการสำรวจล่าสุดถึง ตุลาคม 2563 พบว่าไทยมีแนวโน้มความเหลื่อมล้ำลดลงมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

🔹รายงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าสถานการณ์ความยากจนในปี 2562 ปรับตัวในทิศทางดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2557 โดยสัดส่วนคนจนลดลงจากร้อยละ 10.53 ในปี 2557 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.24 ในปี 2562 จำนวนคนจน 4.3 ล้านคน ในปี 2562 ลดลงจากปี 2556 ที่มีอยู่ประมาณ 7.3 ล้านคน และ

สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำปรับตัวดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบจากปี 2556 ถึงปี 2562 ดัชนีความเหลื่อมล้ำปรับตัวดีขึ้นจาก ปี 2556 อยู่ที่ 0.465 เป็น 0.430 ในปี 2562 โดยเฉพาะ สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านรายจ่าย ด้านการศึกษาและด้านสวัสดิการปรับตัวดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบจากปี 2556 ถึง ปี 2562

*****************

อ้างอิง

• กระทรวงการคลัง

• สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข้อมูลเบาะแส