369 views

การไฟฟ้า ยืนยันอุปกรณ์ช่วยลดค่าไฟฟ้าภายในบ้านไม่มีอยู่จริง


นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในฐานะโฆษก กฟน. พร้อมด้วย นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน ผู้ช่วยผู้ว่าการยุทธศาสตร์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ

นายกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) นำเจ้าหน้าที่พร้อมผู้เสียหาย จำนวน 4 คน เข้าแจ้งความดำเนินคดี หลังพบว่า มีมิจฉาชีพโฆษณาหลอกขาย

อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าอ้างว่าลดค่าไฟได้ ผ่านช่องทาง Facebook Fanpage : Expert Electric อีกทั้งยังละเมิดแอบอ้างหน่วยงานรัฐหรือผู้มีชื่อเสียงต่าง ๆ หรือนำภาพข่าวของ 3 การไฟฟ้า มาตัดต่อ

โฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงประชาชน ณ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก. ปอท.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

 นายจาตุรงค์ เปิดเผยว่า กฟน. กฟผ. และ กฟภ. มีความห่วงใยประชาชนที่ถูกหลอกลวงดังกล่าวอย่างยิ่ง จึงได้แจ้งดำเนินคดีทางกฎหมายกับมิจฉาชีพผู้แอบอ้างหลอกลวงประชาชนอย่างถึงที่สุด เนื่องจากพบว่ามี

การละเมิดนำภาพตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานทั้ง 3 การไฟฟ้า มาตัดต่อ แอบอ้างหลอกจำหน่ายอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า รวมถึงแอบอ้างหน่วยงานภาครัฐหรือผู้มีชื่อเสียงผู้นำมาโฆษณาชวนเชื่อสร้างความน่าเชื่อ

ถือในช่องทางสื่อสารโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อถูกหลอกลวงเสียทรัพย์จำนวนมาก โดยวันนี้ได้นำหลักฐานพร้อมเชิญผู้เสียหายมาแจ้งความดำเนินคดีกับ บก.ปอท.  ทั้งนี้ กฟน. กฟผ.

และ กฟภ. ยืนยันว่า อุปกรณ์ช่วยประหยัดไฟฟ้าหรือช่วยลดค่าไฟฟ้าภายในบ้านนั้น ไม่มีอยู่จริง 

สำหรับอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าที่มีการนำมาแอบอ้างหลอกลวงจำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นั้น อาจเข้าข่ายหลอกหลวงผู้บริโภค โดย 3 การไฟฟ้าตรวจสอบแล้ว พบว่ามี 3 ลักษณะคือ 

  •  เป็นกล่องหรือตู้ที่มีสายไฟสำหรับเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า ส่วนใหญ่ภายในเป็นเพียงตัวเก็บประจุ และประเภทที่ภายในไม่มีส่วนที่เป็นวงจรไฟฟ้าเลย มีเพียงวัสดุสำหรับถ่วงน้ำหนักบรรจุไว้เท่านั้น 
  • เป็นอุปกรณ์สำหรับเสียบเข้ากับเต้ารับไฟฟ้าโดยตรง 
  • เป็นบัตรสำหรับติด หรือแปะกับตู้จ่ายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า 

 เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถประหยัดไฟฟ้าได้จริง และอาจส่งผลให้ระบบไฟฟ้าผิดปกติ หรือกระทบต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งหากนำมาใช้อาจมีความผิดตามกฎหมายได้

 สำหรับวิธีการประหยัดไฟฟ้าที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าโดยเปิดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเฉพาะเวลาที่ต้องการใช้งานและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน เปิดหน้าต่างให้

อากาศถ่ายเทก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศ รวมถึงการปรับตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ ไม่ควรต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำเกินไปจะทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักใช้ไฟฟ้ามากขึ้น

การเปิดพัดลมช่วยให้อากาศมีการเคลื่อนที่ทำให้รู้สึกเย็นเพิ่มขึ้นได้ และไม่แช่อาหารร้อนในตู้เย็น รวมถึงไม่ควรเปิด-ปิด ตู้เย็นบ่อยครั้งจะส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นด้วย อีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยประหยัด

ไฟฟ้าได้คือ การเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น หลอดไฟฟ้าชนิด LED เลือกใช้เครื่องปรับอากาศชนิดอินเวอร์เตอร์ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เป็นต้น

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการขอคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของ 3 การไฟฟ้า หรือติดต่อผ่าน MEA Call Center โทร. 1130 หรือ PEA Call Center 1129 หรือศูนย์บริการ

ข้อมูล กฟผ. โทร. 1416 ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ด้าน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ ผกก.3 บก.ปอท. กล่าวว่า รูปแบบการหลอกลวงดังกล่าวผมได้บ่อย เนื่องจากเป็นการหลอกลวงจำนวนเงินไม่มาก ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่าย ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะดำเนินการสืบสวน

หาข้อเท็จจริงอย่างละเอียดอีกครั้ง 

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนที่ซื้ออุปกรณ์ในลักษณะที่เข้าข่ายการหลอกลวงเหมือนในกรณีนี้ เข้าแจ้งความเพิ่มเติมที่ บก.ปอท. เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข้อมูลเบาะแส