502 views

Facebook ประกาศปิด 10 เพจ 12 แอ็กเคานต์ ในไทย เหตุเข้าข่ายปล่อยข่าวลวง


นายธาเนียล ไกลเชอร์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายความปลอดภัยไซเบอร์ของ Facebook ให้สัมภาษณ์ผ่านทาง Video Conference กับสื่อมวลชนไทย โดยย้ำว่า เรา TAKE DOWN (ปิดเพจ-แบนแอคเคานท์) เหล่านี้ เราไม่ได้ทำเพราะเนื้อหาที่เพจหรือบุคคลพวกนี้ทำ แต่เพราะรูปแบบพฤติกรรมที่พวกเขาทำกันอย่างเป็นเครือข่าย”   

ในความเป็นจริง Facebook ดำเนินการตรวจจับและปิดเพจที่มีพฤติกรรมเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ ล่าสุดมีการปิดกลุ่มเครือข่ายที่มะนิลา ฟิลิปปินส์ กับที่พม่า และเมื่อตรวจจับเจอก็จะประกาศให้สื่อมวลชนกับพันธมิตรที่ทำงานด้วยรับรู้ผ่านทาง Facebook News Room ซึ่งเป็นบล็อกของเฟซบุ๊กเอง และเหตุผลที่ Facebook ต้องจัดการสัมภาษณ์กับสื่อมวลชนไทยในครั้งนี้ ก็เพราะการตรวจจับพบรูปแบบเครือข่ายดังกล่าวเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

เครือข่ายในไทย “ปั่นข่าว” เรื่องอะไร   รายละเอียดการตรวจจับในครั้งนี้มีทั้งหมด 4 กรณี

  •  เคสแรกเป็นเครือข่ายที่ทำงานในประเทศไทย และเผยแพร่ข้อมูลในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา โดยเนื้อหาที่นำเสนอประกอบไปด้วย 4 เรื่องหลัก
  •  การเมืองไทย
  •  ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกา-จีน
  •  ข่าวการประท้วงในฮ่องกง
  • วิจารณ์กิจกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยในประเทศไทย

 ทั้ง 10 เพจ และ 12 แอคเคานท์นี้มีจำนวนผู้ติดตาม 38,000 แอคเคานท์ และมีการใช้เงินบูสท์โพสต์ไปแล้วประมาณ 18,000 เหรียญสหรัฐ ถึงแม้ว่าจะเป็นจำนวนที่ดูไม่มาก แต่ทางเฟซบุ๊กมองว่า ไม่ว่าจะจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม ก็เป็นจำนวนที่ยอมรับไม่ได้ และเมื่อตรวจพบจะต้องรีบหยุดยั้งพฤติกรรมดังกล่าว ก่อนที่จะเพิ่มความเสียหายให้กับสังคม

สำหรับเครือข่ายนี้ เริ่มต้นเพจแรกเมื่อพฤษาคม 2010 แต่ในตอนนั้นอาจจะยังไม่มีพฤติกรรมเครือข่ายปั้นข่าวลวง ทางเฟซบุ๊กจึงยังจับอินไซต์ไม่ได้

 เคสที่ 2 เป็นกระบวนการในรัสเซียแต่เผยแพร่ข้อความในยูเครน

 เคสที่ 3 เป็นกระบวนการที่ดำเนินการในรัสเซีย และยิงคอนเทนต์เน้นที่แคว้นหนึ่งในยูเครน โดยทั้งสองกรณีนี้เน้นข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง

 ส่วนเคสสุดท้ายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในฮอนดูรัส โดยมีพฤติกรรมเขียนบทความเชิงบวกกับประธานาธิบดีฮอนดูรัส

  •  จับได้แล้วไงต่อ

หลังจาก Facebook จับเครือข่ายเหล่านี้ได้แล้ว ก็จะป้อนข้อมูลพฤติกรรมให้ระบบช่วยตรวจสอบ เพื่อกันไม่ให้กระบวนการนี้แผลงฤทธิ์ได้อีกครั้ง รวมทั้งยังคงมีเจ้าหน้าที่ๆ เป็นมนุษย์คอยสอดส่อง โดยเน้นกระบวนการตรวจสอบในระดับโลกไม่ได้จำกัดกรอบแค่ประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น เพราะเคสที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งก็จะเป็นกรณีศึกษาให้กับกรณีอื่นๆ และการดำเนินการในด้านนี้ก็เป็นการสอบสวนในระยะยาวที่ด้านเฟซบุ๊กทำอย่างอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการลบ Fake Account ที่ทำอยู่ทุกวัน   ส่วนการลบข้อความ Hate Speech หรือ ข้อความรุนแรงขัดกับมาตรฐานทางสังคมก็มีเครื่องมืออื่นๆ คอยตรวจสอบด้วย

 ทั้งนี้ “พฤติกรรมร่วมกันในการสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตน” (Coordinated Inauthentic Behavior หรือ CIB) หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลหรือกลุ่มคนทำงานร่วมกัน เพื่อทำให้ผู้ใช้งานคนอื่นเข้าใจผิด, บิดเบือนข้อมูล

  •  CIB คืออะไร – จับได้ยังไง

พฤติกรรมที่เข้าข่าย “พฤติกรรมร่วมกันในการสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตน” ดังกล่าว ประกอบด้วย

 เริ่มต้นจากการสร้างตัวตนปลอมใช้ตัวตนปลอมทั้งหลายเหล่านั้น สร้าง Engagement ในเพจ เพื่อทำให้ข้อความที่โพสต์ได้รับความนิยม  สร้างความเข้าใจผิดว่าข้อมูลหรือข้อความที่อ้างอิงมาจากเว็บไซต์ข่าวที่น่าเชื่อถือ   ซึ่งทาง Facebook ใช้กระบวนการตรวจจับด้วยระบบ และทีมงาน โดยทีมงานนี้ประกอบไปด้วยฝ่ายกฎหมาย, ฝ่ายเทคโนโลยี และฝ่ายโปรดักท์ที่ทำงานผสานความร่วมมือกัน อีกทั้งยังมีหน่วยงาน Civil Society ที่ชื่อว่า Atlantic Council ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านวิธีการเขียนบทความ จนสรุปได้ว่า แอคเคานท์และเพจเหล่านี้มีพฤติกรรมที่ใช้เครือข่ายร่วมกันสร้างความเข้าใจผิดให้สังคม   และเมื่อสอบสวนต่อไปพบว่าพฤติกรรมทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกับกระบวนการหนึ่งที่ชื่อว่า News Eatern Outlook ซึ่งมีฐานการทำงานอยู่ที่รัสเซีย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข้อมูลเบาะแส