Font Resizer

A Decrease font size. A Reset font size. A Increase font size.

17 views

นายกฯ ปฏิบัติภารกิจที่ จ.เชียงราย “ติดตามแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัย – ฟื้นฟูเศรษฐกิจ – มอบบัตรประชาชน”


นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ติดตามแผนการขุดลอกแม่น้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างยั่งยืน และเป็นประธานพิธีเปิดงาน “ปรับ ฟื้น คืนสุข เมืองล้านนา” เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และได้มอบบัตรประชาชนให้กับบุคคลที่ได้รับอนุมัติสัญชาติไทย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
โดยรัฐบาลตระหนักดีว่าการได้รับสัญชาติเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ รัฐบาลสามารถผลักดันการลดหลักเกณฑ์
ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในร่างหลักเกณฑ์ใหม่ที่จะช่วยลดระยะเวลาจากที่เคยใช้เวลาถึง 270 วัน ให้เหลือเพียง 5 วัน และการขอสัญชาติของผู้ที่เกิดในประเทศไทย แต่ไร้สัญชาติ จาก 180 วัน จะเหลือเพียง 5 วัน เท่านั้น

ลงพื้นที่ “แม่สาย” ติดตามแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน
​(1 ธ.ค. 67) เวลา 11.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามแผนการ
ขุดลอกแม่น้ำ และตรวจสอบความคืบหน้าการฟื้นฟูหลังเหตุการณ์อุทกภัยในภาคเหนือ ณ บริเวณคันดินตลาดสายลมจอย ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
โดย นายกรัฐมนตรี รับฟังแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม จากผู้บริหารสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช. ) กระทรวงกลาโหม โดยกรมการทหารช่าง และกรมโยธาธิการและผังเมือง และส่วนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากแผนการดำเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะสามารถลดความเสียหายและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ขอให้เร่งดำเนินการโดยเร็วและให้ทันสถานการณ์ สำหรับเรื่องงบประมาณจะต้องไม่ซ้ำซ้อน และวางแผนให้ชัดเจน รวมทั้งให้กระทบกับประชาชนในพื้นที่น้อยที่สุด

เปิดโครงการ “ปรับ ฟื้น คืนสุข เมืองล้านนา” ส่งมอบมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อ
นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานพิธีเปิดงาน “ปรับ ฟื้น คืนสุข เมืองล้านนา” เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และส่งมอบมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อให้ประชาชน ที่บริเวณด่านศุลกากรแม่สาย โดย สินเชื่อในโครงการฯ ประกอบด้วย

  1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ลูกค้า ผู้ประสบภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ)
  2. ธนาคารออมสิน (สินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ งบประมาณโครงการ
    ออมสินสารพัดซ่อม-วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย)
  3. ธนาคารกรุงไทย (มาตรการเคียงข้างผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยการลดดอกเบี้ย ลดค่างวดชำระหนี้และ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระ)
  4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (โครงการมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปี 2567)
  5. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) (สินเชื่อเติมทุนฉุกเฉิน ฟื้นฟูกิจการ)
  6. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติ)
  7. บรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) (SMEs ฟื้นฟู – No One Left Behind – ช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ประสบภัยน้ำท่วม)
  8. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Green Development Bank – ปรับ ฟื้น คืนสุข เมืองล้านนา สู่การค้าโลกและ บริการประกันส่งออก EXIM for Small BIZ)
  9. กรมธนารักษ์ (สำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงราย) มาตรการช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุที่ประสบอุทกภัย)
  10. กระทรวงมหาดไทย มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 15,040,000 บาท ค่าทำความสะอาดดินโคลน และซากวัสดุ ครัวเรือนละ 10,000 บาท จำนวน 1,504 ครัวเรือน

รับทราบความคืบหน้า ในแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และดินโคลนถล่ม แม่น้ำสาย 3 ระยะ
​นายกรัฐมนตรีได้รับทราบรายงาน ความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และดินโคลนถล่ม แม่น้ำสาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างพื้นฐาน (Hard Side) แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
• แผนระยะเร่งด่วน (1 ปี) ประกอบด้วย 1 แผนงาน ได้แก่ แผนการเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำใน
ลำน้ำ โดยการขุดลอกคูคลอง รื้อถอนสิ่งกีดขวางลำน้ำ ทำพนังกั้นน้ำชั่วคราว/กึ่งถาวร ในแม่น้ำสาย 15 กม. และแม่น้ำรวก 44 กม. มอบหมายให้กองทัพบก ดำเนินการให้เสร็จตามแผน
• แผนระยะกลาง 1-3 ปี ประกอบด้วย 2 แผนงาน ได้แก่

  • โครงสร้างป้องกันน้ำท่วมและป้องกันตลิ่งบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ โดยให้วิเคราะห์จุดเสี่ยงการกัดเซาะตลิ่งหลังจากการขุดลอกในระยะเร่งด่วน ดำเนินการโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ.)
    กรมชลประทาน (ชป.) จท. และ สทนช. แผนดำเนินการ มกราคม – มิถุนายน 2568 (6 เดือน) และสำรวจและออกแบบโครงสร้างป้องกันตลิ่ง ดำเนินการโดย ยผ. ชป. จท. สทนช.
    แผนดำเนินการกรกฎาคม 2568 – มิถุนายน 2569 (1 ปี) และให้ดำเนินการก่อสร้าง โดย
    ยม. และ อปท. แผนดำเนินการ 2570 – 2572 (3 ปี)
  • โครงการขุดคลองผันน้ำ ให้วิเคราะห์ตำแหน่งและศึกษาผลกระทบ ดำเนินการโดย ชป.
    แผนดำเนินการ มกราคม – มิถุนายน 2568 (6 เดือน) และสำรวจ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และออกแบบ ดำเนินการโดย ชป. แผนดำเนินการ กรกฎาคม 2568 – มิถุนายน 2569 (1 ปี) และให้เร่งดำเนินการก่อสร้าง โดย ชป.ตามแผนดำเนินการ ปี 2570 – 2572 (3 ปี)
    • สำหรับแผนระยะยาว (3-5 ปี) ประกอบด้วย 1 แผนงาน ได้แก่ โครงการจัดการพื้นที่รับน้ำชั่วคราว (แก้มลิง) โดยให้วิเคราะห์ตำแหน่งและศึกษาผลกระทบ ดำเนินการโดย กรมชลประทาน ปม. และ อส. แผนดำเนินการ ปี 2569 (1 ปี) และให้สำรวจ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และออกแบบ ดำเนินการโดย กรมชลประทาน (ชป.) ดำเนินการตามแผนการ ปี 2567 (1 ปี) ทั้งนี้ การก่อสร้าง
    มอบให้ ชป. และ อปท. แผนดำเนินการ ปี 2571 – 2573 (3 ปี)

ติดตามการฟื้นฟูด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอแม่สาย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามการฟื้นฟูบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอแม่สาย ซึ่งได้กลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว โดยมีนักท่องเที่ยว ทั้งไทยและต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ในส่วนบรรยากาศการค้าขายที่แม่สายเริ่มกลับมาคึกคัก โดย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ว่า ได้วางแผนล่วงหน้าเป็นเดือนเพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่ภาคเหนือ ให้รู้ว่ารับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในพื้นที่ท่องเที่ยว

พบปะพี่น้องชาติพันธุ์ มอบบัตรประชาชนให้กับบุคคลที่ได้รับอนุมัติสัญชาติไทย
​เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ GMS เชียงราย ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายกรัฐมนตรี พบปะพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และได้มอบบัตรประจำตัวประชาชนไทยให้แก่บุคคลที่ได้รับอนุมัติสัญชาติไทยตามกฎหมายในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

รัฐบาลพร้อมผลักดันการลดหลักเกณฑ์ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
รัฐบาลตระหนักดีว่าการได้รับสัญชาติเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะทุกท่านที่รอคอยมาอย่างยาวนาน
ที่ผ่านมาได้มีการสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 มีการขึ้นทะเบียนตามมติคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งการขึ้นทะเบียนต่าง ๆ ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านและมีเลข 13 หลัก ต้องอยู่ในประเทศไทยมาไม่น้อยกว่า 15 ปี ได้รับการตรวจสอบประวัติจากหน่วยงานความมั่นคงทุกหน่วยงาน มีความประพฤติที่ดีไม่เคยต้องโทษจำคุกเกิน 5 ปี ทั้งนี้ ถ้าเคยต้องโทษต้องพ้นโทษมาแล้วเกิน 5 ปี
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันนี้มีผู้ได้รับบัตรประจำตัวประชาชนชุดแรกถึง 72 คน แต่ยังมีพี่น้องชาติพันธุ์รอสัญชาติอีกกว่า 500,000 คน ขณะที่การดำเนินงานที่ผ่านมาใช้เวลานาน รัฐบาลได้ลดขั้นตอนลงเพื่อให้การรอคอยไม่ยาวนาน บางคนรู้สึกว่าคงไม่มีโอกาสได้รับบัตรประชาชน แต่รัฐบาลสามารถผลักดันลดหลักเกณฑ์เหล่านั้นให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในร่างหลักเกณฑ์ใหม่ที่จะช่วยลดระยะเวลาจากที่เคยใช้เวลาถึง 270 วัน ให้เหลือเพียง 5 วัน และการขอสัญชาติของผู้ที่เกิดในประเทศไทย
แต่ไร้สัญชาติ จาก 180 วัน จะเหลือเพียง 5 วัน เท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้พี่น้องชาติพันธุ์ มีความหวังที่ได้รับสัญชาติไทยอย่างทั่วถึง โดยหลักเกณฑ์ใหม่นั้นจะเพิ่มกลไกการตรวจสอบ เพราะฉะนั้นเรื่องความปลอดภัยจะทั่วถึงมากยิ่งขึ้น และหลักเกณฑ์จะชัดเจนมากยิ่งขึ้น


แทก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

แจ้งข้อมูลเบาะแส