341 views

หาคำตอบ “ค่าไฟแพง” จริงหรือ


ช่วงหน้าร้อนแบบนี้ หลายบ้านอาจต้องตกใจกับค่าไฟ พร้อมกับมีคำถามคาใจว่าทำไม “ค่าไฟแพง” เพราะเข้าใจว่ามีมาตรการลดค่าไฟช่วงการระบาดของโรคโควิด – 19 แต่ค่าไฟไม่เห็นถูกลงกลับแพงขึ้นผิดปกติ ลองมาดูว่าเกิดจากอะไร และมีวิธีการคิดค่าไฟอย่างไร

ค่าไฟแพง จริงหรือ

  • การไฟฟ้า คิดเงินแบบอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้มาก ยิ่งต้องจ่ายมาก
  • ตัวแปรของค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น คือ หน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วงนี้คนส่วนใหญ่อยู่บ้าน หรือ Work From Home ทำงานที่บ้านกัน ประกอบกับอากาศร้อนมากจึงทำให้มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นกว่าปกติ

 ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำให้ค่าไฟแพง ได้แก่  เครื่องปรับอากาศ และคอมเพลสเซอร์

  •  เครื่องฟอกอากาศ
  •  พัดลมไอน้ำตู้เย็น เป็นต้น

 สาเหตุที่ทำให้ตู้เย็นกินไฟ ก็มาจากเปิดบ่อย หรือเก็บของมาก แม้จะเป็นตู้เย็นประหยัดไฟ แต่ต้องแช่เครื่องดื่มไม่เกิน 5 ขวดเท่านั้น จึงจะได้จ่ายราคาต่อปีตามโฆษณาไว้

ค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง

  •  ค่าไฟฟ้าฐาน : ค่าการใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะคิดจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า โดยวิธีการคำนวณก็จะแบ่งตามประเภทผู้ใช้งาน
  • ค่า Ft : ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ค่า Ft ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากระดับที่กำหนดไว้ในค่าไฟฟ้าฐาน โดยค่า Ft มีการปรับปรุงทุก ๆ 4 เดือน
  •  ภาษีมูลค่าเพิ่ม : นอกจากค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft แล้ว ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) รวมกับค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft ด้วย

การคิดค่าไฟ : การไฟฟ้าทั้งการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ได้มีการปรับอะไรที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้น แต่คือการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านมีผลโดยตรงกับค่าไฟฟ้า โดยปกติการไฟฟ้าจะคิดค่าไฟ ดังนี้

  •  ใช้ไปหน่วยที่ 0-150 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 3.2484 บาท
  •  ใช้ไปหน่วยที่ 151-400 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 4.2218 บาท
  • ใช้ไปหน่วยที่ 400 ขึ้นไป จ่ายราคาหน่วยนะ 4.4217 บาท

 ยกตัวอย่างการคิดค่าไฟ

  • ตัวอย่างที่ 1

ใช้ไฟฟ้าไป 200 หน่วย จะคิดค่าไฟ ดังนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
50 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 211.09 บาท
รวมเป็นเงิน = 698.35 บาท

  •  ตัวอย่างที่ 2

ใช้ไฟฟ้าไป 400 หน่วย จะคิดค่าไฟ ดังนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 1,055.45 บาท
รวมเป็นเงิน = 1,542.41 บาท

  •  ตัวอย่างที่ 3

ใช้ไฟฟ้าไป 600 หน่วย จะคิดค่าไฟ ดังนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท
200 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 884.34 บาท
รวมเป็นเงิน = 2,427.05 บาท

  •  ตัวอย่างที่ 4

ใช้ไฟฟ้าไป 1,000 หน่วย จะคิดค่าไฟ ดังนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท
600 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 2,653.02 บาท
รวมเป็นเงิน = 4,195.73 บาท

  •  หมายเหตุ: ค่าไฟจากตัวอย่างข้างต้นทั้งหมด ราคายังไม่รวม vat 7 %, ค่าบริการ, หักส่วนลดค่า Ft

สำหรับการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าไฟฟ้าของประชาชนในช่วงที่โรคโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดนี้ กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังจะกำหนดมาตรการ เพิ่มเติม จากที่ได้มีหลายมาตรการออกไปก่อนหน้านี้แล้ว เช่น ลดค่าไฟ 3% ตั้งแต่เดือน เม.ย.-มิ.ย.63 ค่าไฟฟ้าฟรี บ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ ไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน เป็นต้น

  • หากสงสัยว่าค่าไฟเพิ่มขึ้นผิดปกติอาจเกิดจากปัญหาไฟรั่วหรืออื่น ๆ สามารถแจ้งการไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบในเรื่องค่าไฟแพง ได้ที่สายด่วนการไฟฟ้านครหลวง โทร.1130 และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร.1129
  • สงสัยเกี่ยวกับค่าไฟฟ้า อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mea.or.th/profile/109/111
  • ที่มา : เพจไทยคู่ฟ้า https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจ้งข้อมูลเบาะแส